วันอาทิตย์ที่ 29 สิงหาคม พ.ศ. 2553

เผ่าม้ง

แม้ว












ประวัติความเป็นมา

ชาวเขาเผ่าแม้ว เรียกตนว่า ‘' ฮมัง ‘' หรือ ‘' ม้ง ‘' มีถิ่นกำเนิดดั้งเดิมไม่แน่ชัด มีข้อสันนิษฐานแตกต่างกันเป็นหลายทาง บ้างมีความเห็นว่าชาวแม้วเป็นเผ่าพันธุ์อิสระหรือไม่ก็เป็นเผ่าพันธุ์ผสม มีข้อสันนิษฐานหนึ่งกล่าวว่าถิ่นฐานดั้งเดิมของชาวแม้วอยู่ทางแถบเหนือของเอ เซีย อันมีลักษณะกึ่งคอเคเซียนกึ่งมองโลก เมื่ออพยพลงใต้ได้ผสมกับเผ่าพันธุ์อื่น ๆ บ้างในช่วงของการอพยพ มีตำนานที่เล่าขานกันใน หมู่ชาวแม้วในประเทศจีนว่าบรรพบุรุษของพวกเข่าเคยอยู่ในพื้นที่ที่หนาวเย็น มาก ต่อมาจึงได้อพยพเข้าสู่อาณาเขตที่เป็นประเทศจีนปัจจุบัน อย่างไรก็ตาม หลักฐานจากเกสารเก่าแก่ที่สุดของจีนที่กล่าวถึงชื่อแม้วประมาณ ๔ , ๗๐๐ ปีก่อน ระบุว่ามีชาวแม้วอยู่ในลุ่มน้ำเหลืองแล้ว แต่การใช้ชื่อแม้วในเอกสารจีนอาจมีความสับสนอยู่บ้าง เนื่องจากในบางช่วงของประวัติศาสตร์ชื่อแม้วได้ขาดหายไปจากเอกสารโดยมีคำว่า ‘' หมาน ‘' ( คนป่าเถื่อน หรืออนารยชน ) มาใช้เรียกชนชาติอื่น ๆ ไม่ใช้เชื้อสายจีน หลักฐานเหล่านี้ ยังได้กล่าวถึงการทำสงครามาระหว่างชาวแม้วกับจีนเรื่อยมาจนกระทั่งมาถึง สมัยาราวงศ์หมิง ( เหม็ง ) ที่จีนได้ใช้กองทัพขนาดใหญ่รุกเข้าสู่พื้นที่ของชาวแม้ว อันเป็นเหตุผลักดันให้พวกเขาจำต้องอพยพหนีร่นลงมาทางใต้และตะวันตกเฉียงใต้ การปะทะกันยังเกิดขึ้นเรื่อยมาจนถึงสมัยราชวงศ์แมนจู ทำให้ส่วนหนึ่งที่ยอมอยู่ในอำนาจของจีน เกิดการผสมผสานกันมากขึ้นและอีกส่วนหนึ่งที่มีการหนีร่นลงทางใต้ จนเข้าสู่ทางตอนเหนือของประเทศเวียดนาม ลาว และไทย รวมทั้งเข้าสู่บางส่วนของรัฐฉานในพม่าด้วย

การแบ่งกลุ่มย่อยและการกระจายตัว
คำว่า แม้ว หรือ เหมียว หรือ เมี่ยวในสำเนียงภาษาจีน มีผู้ลงความเห็นกันไปหลายทาง บ้างก็ว่าหมายถึงคนป่าเถื่อนบ้างก็ว่าหมายถึงคนพื้นเมือง และยังมีผู้กล่าวเป็นการเรียกเปรียบเทียบกับเสียงของแมว เพราะภาษาพูดของพวกเขาฟังเหมือนเสียงแมวร้อง อย่างไรก็ตาม มีผู้วิเคราะห์คำว่าเหมียวในภาษาจีนว่าเกิดจากการผสมกันของคำสองคำ คือคำว่าต้นพืชอ่อนที่เพิ่งเริ่มงอกในนา และมีการตีความว่าเป็นการหมายถึงคนพื้นเมือง คืออยู่มาก่อนพวกชาวจีน สำหรับคำเรียกชื่อกลุ่มของตนเองว่า ฮม้ง หรือ ม้ง ตามสำเนียงกลุ่มย่อยนั้น โดยทั่วไปพวกเขาไม่สามารถบอกาความหมายได้ แต่มีผู้ให้ความหมายว่าหมายถึง อิสระชน



ตามหลักฐานเอกสารจีนระบุ ว่านับตั้งแต่สมัยราชวงศ์ หยวน ( ค . ศ . ๑๒๗๙ – ๑๓๖๘ ) ชาวแม้วแบ่งเป็นกลุ่มย่อย คือ แม้วดอก ( ฮวาแม้ว ) แม้วขาว ( ไป่แม้ว ) และน้ำเงิน ( ชิงแม้ว ) ต่อมาในสมัยราชวงศ์ชิงตอนต้น ( ประมาณ ค . ศ . ๑๖๔๔ ) เอกสารระบุว่ามีแม้วขาว ( ไป่แม้ว ) แม้วดอก ( ฮวาแม้ว ) แม้วน้ำเงิน ( ชิงแม้ว ) แม้วดำ ( ไฮแม้ว ) และแม้วแดง ( หุงแม้ว ) อย่างไรก็ตามมีผู้นับชื่อเรียกกลุ่มแม้วต่าง ๆเป็นภาษาจีนว่ามีไม่น้อยกว่า ๕๐ ชื่อ ไปจนถึง ๘๐ – ๙๐ ชื่อ ในมณฑลไกวเจาแต่หากเป็นชื่อที่เรียกโดยภาษาแม้วเอง มีผู้ระบุว่ามีเพียง ๑๐ ชื่อเท่านั้นสำหรับกลุ่มย่อยของชาวแม้วในประเทศไทย สามารถแบ่งได้เป็น ๒ กลุ่ม คือ
๑ ) ม้งจั๊ว อาจแปลได้ว่า ม้งเขียวหรือม้งน้ำเงิน ชาวแม้วกลุ่มนี้จะเรียกตนเองว่าม้งโดยไม่มีเสียง ‘' ฮ '' นำ พวกเขามักจะถูกเรียกในภาษาไทยว่า แม้วดำ แม้วลาย หรือแม้วดอกส่วนชาวแม้วอีกกลุ่มย่อยหนึ่ง มักนิยมเรียกพวกเขาว่าฮม้งเหล่งซึ่งอาจแปลได้ว่าฮม้งลาย
๒ ) ฮม้งเด๊อ แปลว่าฮม้งขาว เป็นชื่อพวกเขาเรียกตนเองโดยมีเสียง ‘' ฮ ‘' นำ คำว่า ‘' ฮม้ง '' ชื่อเรียกเป็นภาษาไทยก็ใช้ว่าแม้วขาว เคยมีผู้เรียกกลุ่มนี้ว่าแม้วเผือก แต่ไม่เป็นที่นิยมจึงสูยหายไป ส่วนกลุ่มม้งจั๊วจะเรียกพวกเขาว่า ม้งเกล๊อซึ่งก็เป็นคำเดียวกับฮม้งเด๊อเช่นกัน แต่ออกสำเนียงต่างกันไป
อย่างไรก็ตามเคยมีผู้ กล่าวว่ามีชาวแม้วอีกกลุ่มย่อยหนึ่งเรียกว่าแม้วกั่ว ( ม ) บ๊า อยู่ทางตอนเหนือของจังหวัดน่าน เมื่อ ๓๐ กว่าปีก่อน แต่มีจำนวนไม่มากนักและกำลังถูกกลืนโดยกลุ่มแม้วน้ำเงินในพื้นที่ อันที่จริงกลุ่มดังกล่าวเรียกตนเองว่าฮม้งกั่ว ( ม ) บ๊า หรือออกเสียงในสำเนียง ม้งจั๊ว ว่า ม้งกั่ว ( ม ) บั๊ง ซึ่งอาจแปลได้ว่า ฮม้งแขนปล้อง จัดเป็นส่วนหนึ่งของฮม้งขาวนั่นเอง เมื่อมีการอพยพของชาวลาวลี้ภัยเข้าสู่ประเทศไทย นับตั้งแต่ พ . ศ . ๒๕๑๘ เป็นต้นมา ในจำนวนผู้อพยพจะมีฮม้งกั่ว ( ม ) บ๊า ร่วมอยู่ด้วย แต่ถือว่าเป็นชาวลาวอพยพที่ถูกจัดให้อยู่ตามศูนย์อพยพต่าง ๆ มิใช่ชาวเขาในประเทศไทย การจำแนกกลุ่มย่อยของชาวแม้วเหล่านี้ทำได้ง่ายโดยการสังเกตเครื่องแต่งกาย ตามประเพณี และสำเนียงภาษาที่แตกต่างกัน
จากสถิติประชากรชาวเขา ที่รวบรวมโดย สถาบันวิจัยชาวเขา ในช่วงปี พ . ศ . ๒๕๓๕ พบว่ามีชาวแม้วอยู่ในประเทศไทยรวมทั้งสิ้น ๒๓๗ หมู่บ้าน ๑๑ , ๗๗๕ หลังคาเรือนและมีประชากรรวม ๙๑ , ๕๓๗ คน หรือคิดเป็นร้อยละ ๑๕ . ๙๖ ของประชากรชาวเขาทั้งหมดในประเทศไทย ( ๕๗๓ , ๓๖๙ คน ) พวกเขาได้กระจายตัวอยู่ในพื้นที่ ๑๓ จังหวัด ดังนี้ การกระจายตัวของชาวแม้วในประเทศไทย
ตาก น่าน เชียงใหม่ เชียงราย เพชรบูรณ์ พิษณุโลก พะเยา กำแพงเพชร แม่ฮ่องสอน แพร่ ลำปาง เลยสุโขทัย

การแต่งกายตามประเพณีความแตกต่างของกลุ่มย่อยของชาวแม้วนั้น สังเกตเห็นได้ง่ายจากลักษณะการแต่งกายตามประเพณี ดังนี้
๑ ) กลุ่มม้งจั้ว ( ม้งน้ำเงินหรือม้งเขียว )
เครื่องแต่งกายชาย - นิยมใช้ผ้าสีย้อมครามหรือสีดำเป็นเครื่องนุ่งห่ม โดยมีเสื้อแขนยาวจรดข้อมือ ขลิบขอบข้อมือ เสื้อด้วยผ้าสีฟ้าหรือสีน้ำเงิน และอาจปักลวดลายลายประกอบด้วยตัวเสื้อไม่มีคอปก ชายสาบเสื้อด้านขวาจะป้ายเลยมาทับซีกซ้ายตลอดแนวสาบเสื้อจะใช้แถบผ้าสีๆ กุ๊นเดนลายและปักลวดลายประกอบดูสะดุดตา ชายเสื้อจะสั้นเพียงเอวหรือสั้นกว่านั้นเล็กน้อย กางเกงสีเดียวกับเสื้อเป็นกางเกงที่ขากว้างมากเป้าหย่อนยานแต่ปลายขาแคบลง ขอบปลายขากางเกงอาจมีการปัดลายด้วยด้ายสีต่าง ๆ ด้วย รอบเอวจะใช้ผ้าสีแดงซึ่งมีความยาวประมาณ ๔ - ๕ เมตร เคียนทับกางเกงไว้ ชายผ้าแดงทั้งสองข้างจะปัดลวดลายสวยงาม เมื่อพันผ้าแดงรอบเอว ชายผ้าทั้งสองข้างจะถูกห้อยโชว์ลวดลายไว้ด้านหน้า ชายหนุ่มจะนิยมคาดเข็มขัดเงินหรือเข็มขัดหนังทับผ้าแดงนี้อีกชั้นหนึ่ง
เครื่องแต่งกายหญิง : นิยมใช้ผ้าสีเดียวกันกับเครื่องแต่งกายชาย แขนยาวจรดข้อมือและขลิบขอบแบนด้วยผ้าสีฟ้าหรือสีน้ำเงิน ตัวเสื้อจะมีชายยาวกว่าเสื้อผู้ชาย และจะเก็บชายเสื้อไว้ด้านในกระโปรง สาบเสื้อด้านซ้ายและขวาจะปัดลวดลายหรือขลิบด้วยผ้าสีดูสวยงาม ปกเสื้อเป็นแบบคอปกกะลาสีห้อยพับไปด้านหลัง ด้านหนึ่งของคอปกเสื้อจะมีการประดิษฐ์ลวดลายสวยงามเป็นกราอวดฝีมือกัน ด้วยกระโปรงเป็นผ้าหน้าแคบ ๓ ชิ้น เย็บต่อกันและเย็บตลอดตัว แต่ขอบกระโปรงไม่เย็บต่อกัน จึงเป็นกระโปรงที่ต้องนุ่งโดยป้ายทับชายกันไว้ด้านหน้า ผ้าท่อนบนของประโปรงจะเป็นผ้าพื้นสีขาว ผ้าท่อนกลางเป็นผ้าเขียนลวดลายด้วยขี้ผึ้ง เมื่อผ่านกระบวนการย้อมแล้วจะกลายเป็นผ้าสีย้อมคราม มีลวดลายตลอดผืน ส่วนผ้าท่อนล่างจะมีสีเช่นเดียวผ้าท่อนกลาง แต่จะปักด้วยด้ายสีและกุ๊นด้วยผ้าสีเป็นลวดลายต่าง ๆตลอดตัวเช่นกัน ตรงบริเวณรอยผ่าของกระโปรงด้านหน้า จะมีผ้าผืนสี่เหลี่ยมยาวผืนหนึ่งคาดปิดทับรอยผ่าด้านหน้าไว้ ผ้าห้อยหน้าผืนนี้ในหมู่บ้านหญิงสาวจะประกวดประชันกันด้วยฝีมือการปักลวดลาย ผ้าอย่างเต็มที่สำหรับหญิงที่แต่งงานแล้วมักจะใช้ผ้าพื้นสีแดงยาว ที่ชายทั้งสองข้างปัดลวดลายสวยงามพันทับกระโปรงและจะปล่อยพู่หางสีแดงหลาย เส้นไว้ด้านหลัง หญิงสาวจะคาดเข็มขัดเงินทับผ้าคาดเอวนี้อีกชั้นหนึ่ง ผู้หญิงของกลุ่มนี้นิยมพันมวยผมขนาดใหญ่ไว้กลางศรีษะและมักจะใช้ผ้าแถบตา ๆ ดำ - ขาวคาดมวยผมแล้วประดับด้วยลูกปัดสีสวย ๆ ร้อยเป็นเส้น ๆ ในยามปกติเมื่อต้องเดินทางจากบ้านไปไร่ ผู้หญิงจะมีผ้าพันแข้งป้องกันผิวหนังถูกขีดข่วน แต่ถ้าเป็นในโอกาสพิเศษหญิง สาว จะใช้ผ้าแถบผืนเล็ก ๆ ที่มีความยาวมากพันรอบส่วนขาช่วงล่างเป็นชั้น ๆ อย่างพิถีพิถัน
๒ ) กลุ่มฮม้งเด๊อ ( ฮม้งขาว )
เครื่องแต่งกายชาย ; นิยมใช้ผ้าสีเดียวกับกลุ่มม้งจั๊วลักษณะเสื้อคล้ายกับเสื้อผู้ชายมังจั๊ว เพียงแต่ชายเสื้อจะสั้นเต่อมากกว่า กางเกงเหมือนกางเกงจีน ซึ่งต่างไปจากกลุ่มม้งจั๊วอย่างเห็นได้ชัด และมีผ้าแถบสีแดงปักลวดลายทั้งสองชายพันทับกางเกงรอบเอวแล้วคาดด้วยเข็มขัด เงินหรืออาจเป็นเข็มขัดหนังก็ได้
เครื่องแต่งกายหญิง เสื้อเป็นสีเดียวกับมังจั๊ว แต่แนวสาบเสื้อทั้งสองข้างจะนิยมขลิบด้วยผ้าสีฟ้าหรือสีน้ำเงินเรียบๆเสื้อ แขนยาวจรดข้อมือ รอบข้อมือเสื้อทั้งสองข้างขลิบด้วยผ้าสีเดียวกับสาบเสื้อ คอปกด้านหลังเป็นปกเสื้อทรงกะลาสีเช่นกัน และมีการปักลวดลายสวยงามด้านหนึ่งของปกเสื้อด้วยชายเสื้อจะสอดไว้ด้านใน ของกระโปรงสีขาวทั้งตัว ซึ่งไม่มีการปัดลวดลายใดๆ ลงบนตัวกระโปรง อันที่จริงกระโปรงของผู้หญิงฮม้งเด๊อ ก็มีลักษณะเหมือนกับของม้งจั๊วาคือเป็นผ้าหน้าแคบ ๓ ผืนเย็บต่อกัน เย็บจีบารอบตัว และเป็นผืนกระโปรงที่ไม่เย็บขอบเข้าด้วยกัน เพียงแต่กระโปรงฮม้งเด๊อจะเป็นสีขาวล้วน ๆ สำหรับหญิงสาวนั้น ผ้าห้อยหน้าที่ปิดทับรอยผ่าของกระโปรง จะมีการปัดลวดลายงามมาก ในยามปกติผู้หญิงเม้งเด๊อ นิยมสวมกางเกงจีนมากกว่ากระโปรงสีขาวซึ่งจะสกปรกได้ง่าย ผู้หญิงของกลุ่มนี้ นิยมเหล้ามวยผมคล้อยมาทางด้านหน้าของศรีษะ และมีผ้าคาดผมปักลวดลายโชว์ไว้ด้านหน้า รวมทั้งการใช้ผ้าพันแข้งด้วยเครื่องโพกผมของทั้ง ๒ กลุ่มย่อย จะมีความแตกต่างกันไปตามท้องที่และแซ่สกุล ทั้งรูปทรงสีสันและวิธีพันศรีษะทั้งหญิงและชายทั้ง ๒ กลุ่ม นิยมประดับเครื่องเงินจำพวกกำไลคอ กำไลข้อมือ แหวน ตุ้มหู และเหรียญเงินรูปกลมและรูปสามเหลี่ยม ซึ่งมักจะเย็บประดับลงบนตัวเสื้อและผ้าโพกผมรวมทั้งสองข้าง ในสมัยก่อนผู้ชายก็นิยมเครื่องโพกศรีษะด้วยส่วนกลุ่มฮม้งกั่ว ( ม ) บ๊า นั้น การแต่งกายเป็นแบบเดียวกับฮม้งเด๊อ เพียงแต่รอบแขนเสื้อผู้หญิงทั้งสองข้างจะมีแถบผ้าสีเขียวหรือสีฟ้าคาดเป็น ปล้อง ๆ จึงเรียกกันว่า ฮม้งแขนปล้อ

การตั้งบ้านเรือน
ในสมัยที่ยังมีการปลูกฝิ่นกันโดยแพร่หลาย ชาวแม้วมักจะตั้งบ้านเรือนอยู่ในระดับประมาณ ๑ , ๐๐๐ เมตร ขึ้นไปจากระดับน้ำทะเล ต่อมาเมื่อหมู่บ้านส่วนใหญ่เลิกปลูกฝิ่นโดยหันมาปลูกพืชเงินสดชนิดอื่น ๆ ความจำเป็นที่จะต้องตั้งถิ่นฐานภูเขาสูง ๆก็หมดไปอย่างไรก็ตามการเลือกทำเลที่ตั้งของหมู่บ้านและด้วยกัน จำเป็นต้องพิจารณาดูทำเลที่เหมาะสมตามหลักความเชื่อ เพราะหากเลือกทำเลผิดพลาดอาจทำให้ผู้อยู่อาศัยเจ็บป่วยลงได้ลักษณะบ้านเรือนตามระเพณี เป็นการปลูกบ้านคร่อมดินโดยการปรับพื้นดินให้ราบเรียบเป็นพื้นเรือน แล้วจึงปลูกตัวบ้านคร่อมทับลงไป โดยใช้วัสดุที่หาได้ในท้องถิ่น เช่น ฝาบ้านอาจใช้ไม้ไผ่สับฟาก หรือไม้แผ่นที่ใช้ขวานถากหลังคาอาจใช้ตับหญ้าหรือแป้นเกล็ดไม้ ซึ่งชนิดหลังจะมีความทนทานกว่ามาก สามารถอยู่ได้เป็นสิบปีโดยไม่ต้องเปลี่ยนหลังคาใหม่บ่อย ๆ เหมือนหญ้าคา ปัจจุบันมีการใช้วัสดุสมัยใหม่กันมากขึ้น รวมทั้งการสร้างบ้านในรูปทรงแบบพื้นราบ ถึงแม้ว่าการจัดภายในบ้านจะมีความแตกต่างกันระหว่างกลุ่มย่อยและต่างกันตาม แซ่สกุลก็ตาม องค์ประกอบที่สำคัญภายในบ้านยังคงมีเหมือน ๆ กัน เริ่มตั้งแต่ประตูบ้านด้านที่หันสู่ลาดเขา ส่วนที่ลาดลงซึ่งจัดว่าเป็นประตูด้านหน้าหรือประตูสำคัญ เรียกว่า ขอจ้งต่า ( หรือขอจ้งดั่ง ในสำเนียงม้งจั๊ว ) การประกอบพิธีสำคัญ ๆ เช่นการเรียกขวัญ การส่งวิญญาณผู้ตายออกจากบ้าน การแต่งงานจะต้องผ่านประตูนี้ อีกประตูหนึ่งซึ่งอยู่ด้านข้างของตัวบ้าน จัดว่าเป็นประตูธรรมดา เรียกว่า ขอจ้งสั่ว โดยทั่วไปกลุ่มม้งจั๊วมักจะไม่มีประตูด้านนี้ ถัดจากประตูสำคัญจะเป็นห้องนอนของสมาชิกในครัวเรือน ซึ่งห้องของหัวหน้าครัวเรือนมักจะเป็นห้องที่อยู่ติดประตู ลูกสาวและลูกชายที่โตแล้วจะนอนแยกห้องกัน ตาไฟมี ๒ แห่ง คือเตาไฟใหญ่เรียกว่าขอส่อ ( หรือขอสู่ในภาษาม้งจั๊ว ) ก่อด้วยดินวางกระทะใบบัวใช้เป็นเตาหงข้าว ต้มอาหารสัตว์ ทำอาหารเลี้ยงแขกในพิธี ต้มกลั่นเหล้าและต้มย้อมผ้า ส่วนเตาไฟเล็กเรียกว่าขอจุ๊ ใช้เป็นที่ทำอาหารประจำวันและต้มน้ำ หิ้งผี เรียกว่า ท่าเน้ง ( หรือทั่งเน้งในภาษาม้งจั๊ว ) อยู่ตรงข้ามกับประตูสำคัญโดยปรกติยุ้งข้าวและข้าวโพดจะอยู่ในตัวบ้านด้วย บริเวณริมด้านหนึ่งใกล้กับครกกระเดื่องสำหรับตำข้าว ในปัจจุบันครกกระเดื่องตำข้าวเริ่มหายไป เพราะมีโรงสีข้าวแทนที่ หากมีแขกมาอาศัยพักนอน กลุ่มฮม้งเด๊อ จะปูเสื่อให้ตรงบริเวณพื้นที่โล่งกลางบ้าน ในขณะที่กลุ่มม้งจั๊ว จะมีแคร่ยกพื้นไว้คอยรับแขกใกล้กับประตูสำคัญ เสากลางบ้านนับว่าเป็นส่วนประกอบที่สำคัญของบ้านด้วย เพราะถือเป็นเสาผีฟ้า เรียกว่า เย่ต๊า ( หรือยี่กลั๊งในภาษาม้งจั๊ว ) หรือเทียบได้กับเสาเอกของบ้าน บริเวณใกล้ ๆ กับหิ้งผี จะมีกระดาษแผ่นสีขาวปิดข้างฝาเรียกว่าสีก๊ะ ( หรือกั๊งในภาษาม้งจั๊ว ) เป็นผีที่คอยดูแลทุกข์สุขของคนในบ้าน ลักษณะเด่นอีกประการหนึ่งของบ้านชาวแม้วคือไม่มีบานหน้าต่าง ดังนั้นภายในบ้านจึงค่อนข้างมืด ระยะหลังมีผู้นิยมเจาะช่องหน้าต่างเพิ่มขึ้นทำให้ภายในบ้านดูสว่างขึ้น

ครอบครัวและเครือญาติ
สังคมของชาวแม้ว จัดว่าเป็นสังคมที่ตั้งอยู่บนพื้นฐานแบบแซ่สกุล คนในแซ่สกุลเดียวกันเป็นญาติพี่น้องกันแม้จะไม่สามารถสืบบรรพบุรุษาร่วมกัน ได้ก็ตาม ดังนั้น ชายและหญิงจากแซ่สกุลเดียวกัน จึงไม่สามารถแต่งงานกันได้ รวมทั้งไม่อาจมีความสัมพันธ์ทางเพศกันได้ด้วย เนื่องจากชาวแม้วสืบเชื้อสายทางฝ่ายชาย เมื่อหญิงชายแต่งงานกัน ผู้หญิงจะต้องออกจากสกุลของพ่อแม่ตนเองมาอยู่ฝ่ายผู้ชาย ภายใต้ผีฝ่ายผู้ชายด้วย โดยทั่วไปหนุ่มสาวที่แต่งงานใหม่ มักจะอยู่ร่วมในชายคาเดียวกันกับพ่อแม่ของฝ่ายชาย อันจัดเป็นรูปแบบของครอบครัวแบบขยาย ลูกชายคนโตมักจะนำครอบครัวของตนแยกเรือนออกไปก่อนเป็นครอบครัวเดี่ยว จนในที่สุด เหลือแต่ครอบครัวของลูกชายคนเล็ก ซึ่งจะต้องดูแลพ่อแม่และสืบทอดการดูแลบ้านต่อไปถึงแม้สังคมชาวแม้วจะ อนุญาตให้หนุ่มสาวสามารถมีความสัมพันธ์ทางเพศก่อนแต่งงาน แต่ก็ต้องระมัดระวังมิให้เป็นการลบหลู่ผู้ใหญ่หรือผีเรือน การแต่งงานมีได้หลายวิธี ตั้งแต่การหมั้นหมายกันตั้งแต่ยังเล็กระหว่างพ่อแม่ทั้งสองฝ่าย การส่งเถ้าแก่ไปสู่ขอโดยตรง จนถึงการาลักพาหรือพาหนีโดยฝ่ายชายเป็นผู้กระทำ จากนั้นจึงส่งผู้ใหญ่มาติดต่อแจ้งแก่ฝ่ายหญิง โดยทั่วไปการแต่งงานตามประเพณีจะเกิดขึ้นหลังจากคู่หนุ่มสาวได้อยู่กินกัน มาระยะหนึ่งแล้วอาจจะ ๑ - ๒ ปีแล้วแต่จะตกลงกัน มีคู่สามีภรรยาบางคู่ที่อยู่กินกันจนลูกอายุ ๓ - ๔ ปี แล้วยังไม่เข้าพิธีแต่งงานตามประเพณีก็มี แต่ก็รับทราบกันว่าเป็นคู่สามีภรรยาที่จะต้องทำพิธีแต่งงานในโอกาสต่อไป การแต่งงานนั้นฝ่ายชายจะเป็นผู้จ่ายค่าสินสอดทั้งหมดให้แก่พ่อแม่เจ้าสาว ซึ่งในพิธีแต่งงานจะต้องมีเถ้าแก่ของทั้งสองฝ่าย เข้านั่งเจรจาต่อรองาค่าตัวเจ้าสาวกันจนเป็นที่ตกลงกันกล่าวได้ว่าโดยทั่วไป ชาวแม้วนิยมครอบครัวแบบผัวเดียวเมียเดียว แต่ก็อนุญาตให้ชายมีภรรยาหลายคนได้ ด้วยเหตุผลสำคัญ คือ ต้องการบุตรชายไว้สืบสกุลและความต้องการแรงงานทางเศรษฐกิจเพิ่มขึ้น

ความเชื่อและพิธีกรรมที่สำคัญ
ชาวแม้วมีความเชื่อถือผีวิญญาณและการบูชาบรรพบุรุษสำหรับความเชื่อในสิ่งศักดิ์สิทธิ์นั้น อาจจัดแบ่งได้ดังนี้
๑ ) สิ่งศักดิ์สิทธิ์ระดับเทพหรือเทวดา ที่สำคัญมี เหย่อโช้วเป็นผู้สร้างสรรพสิ่งต่าง ๆ หย่งเหล่า เป็นผู้ดูแลให้มนุษย์ปฏิบัติตามกฎระเบียบ ยุ่ว้าตัวะเต่ง เปรียบเหมือนพระยม ผู้มีหน้าที่ตัดสินให้วิญญาณผู้ตายมาเกิดใหม่ ถือเซ้งถือตี่ หรือ เซ้งเต๊เซ้งเชอ เป็นผีเจ้าที่เจ้าทาง กะยิ้ง เป็นผีฟ้าผู้ให้ลูกแก่มนุษย์ที่ต้องการและร้องขอ
๒ ) เน้ง เป็นผีฝ่ายที่คอยต่อสู้กับผีร้าย นับว่ามีบทบาทมากในการบำบัดรักษาผู้ป่วย ที่เชื่อกันว่าเกิดจากการที่ขวัญออกจากร่างไป ผีเน้งจะช่วยรักษาผู่ป่วยโดยผ่านร่างทรงของหมอผีทรง หรือโดยคำเชื้อเชิญของหมอผีคาถาให้มาช่วย
๓ ) ด๊า ( หรือกลั๊งในภาษาม้งจั๊ว ) จัดเป็นผีทั่ว ๆ ไปซึ่งมีทั้งที่ให้คุณและให้โทษ ผีเรือนเรียกว่า ด๊าโหวเจ๋ ซึ่งประกอบด้วยผีประตู ผีเสาเรือน ผีก๊ะ ผีหิ้งผี ผีเตาไฟใหญ่ ผีเตาไฟเล็กและผีบรรพบุรุษ นอกจากนั้นจะเป็นผีทั่ว ๆไป เช่น ผีน้ำ ผีป่า ผีถ้ำ เป็นต้น ส่วนผีซึ่งจัดว่ามีหน้าที่คร่าชีวิตมนุษย์เรียกว่า ด๊าชื่อ ( น ) หย่ง
ชาวแม้วจึงเชื่อว่า มนุษย์ทีทั้งส่วนของร่างกายไปด้วยสาเหตุใดก็ตามจะทำให้คนผู้นั้นล้มเจ็บลง จึงจำเป็นต้องหาวิธีนำขวัญกลับมายังร่างของผู้ป่วยนั้น เพื่อจะได้หายเป็นปรกติ นอกจากนี้พวกเขายังเชื่อในการเวียนว่ายตายเกิดด้วย ดังนั้นพิธีกรรมที่สำคัญ ๆ จึงมักจะเกี่ยวข้องกับสุขภาพอนามัยของคนโดยตรง เช่น การเรียกขวัญ เรียกว่า ฮูปลี่ เป็นการเรียกให้ขวัญผู้ป่วยกลับมาเข้าร่างเดิม การเลี้ยงผีวัว เรียกว่า อัวยุ่ด๊า โดยเชื่อกันว่าพ่อหรือแม่ที่ตายไปต้องการให้ลูกหลานที่ยังอยู่ประกอบพิธีส่ง ไปให้ การทำผี เรียกว่า อัวเน้ง เป็นการบำบัดรักษาผู้ป่วย แบ่งได้เป็น ๒ ลักษณะ คือการทำผีเข้าทรง เรียกว่า อัวเน้งเท่อกับการทำผีเรียน เรียกว่าอัวเน้งเก่อ ส่วนประเภทแรกเป็นการเชิญผีมาเข้าทรงหมอผี ส่วนประเภทหลังเป็นเป็นการเชิญผีมาช่วยทำให้คาถาได้ผลยิ่งขึ้นในการรักษาผู้ ป่วย

ประเพณีสำคัญในรอบปี

ประเพณีสำคัญที่สุด คือ ประเพณีฉลองปีใหม่ ซึ่งจะมีขึ้นในช่วงขึ้น ๑ - ๓ ค่ำ ของเดือนแรกในรอบ ๑๒ เดือน ตามระบบจันทรคติ การนับระบบจันทรคติของชาวแม้ว เป็นการนับต่อเนื่องถึง ๓๐ ค่ำ จึงเรียกพิธีปีใหม่ว่า น่อเป๊โจ่ว หรือ อาจแปลว่า กินสามสิบ ซึ่งถือว่าเมื่อครบ ๓๐ ค่ำ ของเดือนสุดท้ายของปี ก็เป็นอันสิ้นสุดปีเก่าย่างเข้าสู่ปีใหม่ ดังนั้น ในช่วงขึ้น ๑ - ๓ ค่ำ ทุกคนจะไม่ไปไร่ แต่จะแต่งตัวด้วยชุดใหม่ หนุ่มสาวจะเล่นเกมโยนลูกบอลผ้าสีดำกัน ในขณะที่พวกผู้ชายจะนิยมเล่นลูกข่างกัน มีการทำขนแป้งข้าวเหนียวแจกจ่ายกันมีการเชิญเพื่อนบ้านญาติพี่น้อง มารับประทานอาหารร่วมกันโดยทั่วไปวันฉลองปีใหม่มักจะตกในราวเดือนพฤศจิกายน หรือเดือนธันวาคมของทุกปี ซึ่งมักจะเป็นเวลาที่ชาวบ้านเสร็จกิจจากการเกี่ยวข้าวกันแล้ว

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น