วันอาทิตย์ที่ 29 สิงหาคม พ.ศ. 2553

เผ่ากะเหรี่ยง


กะเหรี่ยงยางขาว

ชาวยางขาวเป็นพวกที่มีความชำนาญในการคล้องช้าง สมัยโบราณบรรพบุรุษนิยมล่าช้างมาเป็นอาหาร ปัจจุบันได้เลิกการล่าช้างและรับประทานเนื้อช้างแล้ว แต่มักจับเอาช้างมาใช้งาน ชาวยางผู้มั่งคั่งบางคนมีช้างหลายเชือก ชาวเหนือและชาวพม่าที่ทำป่าไม้มักว่าจ้างชาวยางไปเป็นควาญช้างเพราะพวกนี้มี ความชำนาญในการขี่ช้าง เคยร่วมกันตั้งพะเนียดจับช้างอยู่เสมอ ชาวยางขาวรับประทานข้าว เจ้า ใช้ถาดสานด้วยไม้ไผ่โดยเอาข้าวทั้งหมดใส่ลงไปในถาดแล้วแหวกตรงกลางสำหรับ ว่างถ้วยน้ำพริกหรือแกง ใช้มือขยุ้มรับประทาน อาหารจำพวกเนื้อรับประทานได้ทุกอย่าง เว้นแต่เนื้องูอย่างเดียว พวกเขาเกลียดงูเป็นที่สุด ถ้าผู้ใดรับประทานเนื้องู เขาจะไม่ยอมให้ขึ้นบนบันไดบ้าน เพราะถือว่าผิดผีอย่างร้ายแรง เวลาเดินทางไปล่าสัตว์หรือไปหาอาหาร หากไปพบปะงูในวันนั้นก็ต้องหันหลังกลับบ้านทันที เพราะถือว่าโชคร้ายมาก ขืนเดินทางต่อไปก็จะไม่ได้อะไรเลย ชาวยางขาวไม่ชอบเก็บอาหารแห้งไว้รับประทานนาน ๆ มีอะไรเท่าไรก็รับประทานหมดแล้วไปหาเอาใหม่ เมื่อไม่มีอะไรก็รับประทานข้าวสุกกับพริกสดและเกลือเท่านั้น สิ่งเสพย์ติดมีเพียงการสูบยาเส้นจากกล้องซึ่งทำด้วยตาไม้ไผ่ ไม่นิยมสูบบุหรี่หรือฝิ่นกัญชา การตำข้าวของพวกเขาแปลกกว่าชาวเหนือ และชาวเขาเผ่าอื่น ๆ เพราะตัวครกใช้ไม้เจาะด้านข้างแล้วตำด้วยมือ ผู้หญิงเป็นคนตำ เวลาก่อนย่ำรุ่งราวตีสี่หรือตีห้าจะเริ่มตำ พอฟ้าสว่างก็เสร็จ

ชาวยางขาวเป็นผู้ที่มี อุปนิสัยใจคอโอบอ้อมอารีต่อเพื่อนบ้าน ถ้ามีแขกต่างถิ่นไปถึงหมู่บ้านของเขา หัวหน้าหมู่บ้านจะออกมาต้อนรับ เมื่อขึ้นไปนั่งบนบ้าน เจ้าของบ้านจะต้อนรับขับสู้ด้วยใบหน้ายิ้มแย้มแจ่มใส ยกหมากยาสูบมาวางไว้ตรงหน้า ถ้าแขกพักอยู่หมู่บ้านนั้นหลายวัน ชาวบ้านคนอื่นต่างก็เชื้อเชิญให้ไปรับประทานอาหารเพื่อเป็นเกียรติแก่พวกเขา แทบทุกหลังคาเรือน ประเพณีการต้อนรับแขกอย่างหนึ่งคือขณะนั่งสนทนากันอยู่กับแขก เมื่อมีธุระหรือการงานอะไรก็ลุกขึ้นไปทำเฉย ๆ โดยไม่บอกกล่าวขอตัวกับแขกเลยเมื่อเสร็จงานแล้วจึงกลับมานั่งสนทนากันใหม่ นิสัยของชาวยางขาวชอบ ความสงบ รักธรรมชาติ นิยมอยู่รวมกันเป็นกลุ่มก้อนภายใต้ระเบียบแบบแผนอันเดียวกันไม่ปะปนกับชาว เหนือหรือชนชาติอื่น ทุกคนเคารพและเชื่อฟังผู้อาวุโส ตลอดจนผู้เป็นหัวหน้าหมู่บ้าน สิ่งของต่าง ๆ ภายในบ้านไม่ปรากฏว่ามีการลักขโมย การประทุษร้ายระหว่างพวกเดียวกันเองก็ไม่เคยปรากฏ ชาวยางขาวเป็นชนชาติที่ไม่กระตือรือร้นในการทำงานเพื่อให้มีฐานะมั่งคั่ง การอาชีพตามปกติของเขานั้นก็คิดทำกันพอเลี้ยงชีพของตนและครอบครัวให้ยืนยาว ไปชั่ววันหนึ่ง ทุกคนอยู่ด้วยความรักสงบ และมีความเห็นอกเห็นใจซึ่งกันและกัน

ชาวยางขาวเป็นผู้ที่รัก สนุกด้วยการดีด สี ตี เป่า และชอบกล่าวสุภาษิตโบราณอันไพเราะ เครื่องดนตรีประจำชาติมีเพียงชนิดเดียว รูปร่างลักษณะคล้ายเขาควาย ทำด้วยเขาสัตว์หรืองาช้าง เขากวางเจาะรูใช้เป่าทางโคนใช้มือปิดทางรูอีกข้างหนึ่ง เสียงเป่าดังคล้ายเสียงผิวปาก เครื่องดนตรีชนิดนี้เรียกว่า “ แกว ” หรือ “ กาย ” มีบทเพลงที่ไพเราะ ซึ่งใช้ร้องเล่นในยามว่างหรือในคืนเดือนหงาย และเวลาที่มีพิธีแต่งงาน งานศพ งานขึ้นบ้านใหม่ ฯลฯ ชาวยางขาวมีภาษาคล้าย คลึงกับภาษาของชาวยางหรือกะเหรี่ยงพวกอื่น ๆ ตัวอักษรของชาวยางขาวเขียนเป็นตัวขอมหรือตัวอักษรอย่างพม่า มักเขียนเป็นตำรับตำราเกี่ยวกับพิธีลัทธิทางไสยศาสตร์ คาถาอาคม บทเพลง สุภาษิต ฯลฯ ดังจะขอยกนำมาไว้ ดังนี้

ต้าดึโล่ะยาโล่ะ เดาะตะเอโล่ะ โซ่เกโล่ะเน่ โอ้ท่อเลอ ซือกลาเลอ แล่คอแล่เลอซือ ซ่ากุยต่าตะพ่าเลอ อดึต่า ยาต้าเลอซึแก้ ซือวออักลาตะเม่บาฮาซือสะกุยต๊ะเดาะ ซือเตนนีบ้า ตาบ้า ซือม่า ซี - ป้าขยอเดาะซือเกต้าเดาะซเน่บาต้าตะเซบ้า อะเงดีอี ซือตะเคบ้า ตาบ้า ซือเคต้า เดาะเตนเน่ บ้าตาบ้า อะเวดีอี้ ซืเควเก้อม่าต้า ดีโซ่ะซือ ซือเกาะอ้อเลอะงอต้าเลอซือ ต้ามึต้าลาอะป่ะ ลอ แปลว่า “ การทะเลาะวิวาทกันในระหว่างพวกท่านนั้นมาแต่ไหน สิ่งนี้ใช่ไหม คือมาแต่ใจอันปรารถนาชั่วที่ก่อรบกวนในร่างกายของท่าน ท่านทั้งหลายปรารถนาได้ แต่ ก็ไม่ปรารถนาอยาก ท่านมัวหลงแก่งแย่งฆ่าฟันประทุษร้ายอิจฉาริษยาต่อกัน ซึ่งในที่สุดท่านก็ไม่สมปรารถนาสักอย่างเดียวท่านทั้งหลายทะเลาะแก่งแย่งกัน นั้นท่านหาอาจจะบรรลุถึงซึ่งความปรารถนาได้ไม่ เพราะว่าท่านขาดจิตที่ตะนอบน้อมกล่าวคำขอ หรือท่านได้ขอแล้วแต่ท่านมิได้รับผลจากการขอร้องนั้นก็เพราะท่านขอในสิ่งที่ ผิด โดยท่านหวังนำเอาไปใช้ตามจิตปรารถนาชั่วของท่าน

การปรนนิบัติระหว่างสามี ภรรยา สะใภ้ต่อพ่อผัวแม่ผัวหรือลูกเขยพ่อตาแม่ยายคงเป็นไปอย่างคนไทยทั่วไป แต่หญิงผู้เป็นสะใภ้ต้องเคารพนับถือพ่อผัวเสมอเป็นบิดามารดาบังเกิดเกล้าของ ตน เมื่อมีการทะเลาะวิวาทระหว่างครอบครัวถึงขั้นแตกหักอันควรหย่าร้าหรือไม่ก็ ตาม จะทำการตกลงกันระหว่างญาติหรือผู้ใหญ่ทั้งสองฝ่าย อย่างมากก็พาไปถึงกำนันไม่ปรากฏว่ามีเรื่องมาถึงอำเภอหรือโรงศาลเลย

ขณะที่หญิงตั้งครรภ์ก็คง ทำงานตามปกติ เมื่อถึงกำหนดคลอดก็เรียกหมดตำแยประจำหมู่บ้านมาทำคลอด ตัดสายสะดือโดยใช้คมไม้รวก ส่วนรกบางคนใช้ฝังไว้ใต้ฐานบันได บางคนเอาใส่กระบอกไม้ซางไปแขวนไว้อย่างหมิ่นเหม่ที่ต้นไม้ บางคนใช้ไม่ปักเป็นสามเส้าเอารถใส่กระบอกไม้ซางหรือไม้ไผ่ไปตั้งบนนั้น เหตุที่เอารกไปแขวนกิ่งไม้ไว้นั้น เพราะเชื่อว่าเวลาเด็กเติบโตขึ้นจะปีต้นไม่เก่ง การอยู่ไฟ เขาอยู่กันโดยสุมฟืนตลอด เมื่อเด็กคลอดแล้วมีแม่มดหรือแม่ช่างมาแกว่งข้าวเสี่ยงทายดูว่าผู้ใดมาเกิด เป็นเด็กนั้น สมมติว่าลุงที่ตายไปแล้วนั้นมาเกิดใหม่ เขาจะให้ป้าที่ยังมีชีวิตอยู่มาผูกข้อมือให้ หรือญาติข้างฝ่ายลุงที่ชอบพอรักใคร่กันมาในขณะยังมีชีวิตอยู่นั้นมาผูกข้อ มือ การผูกข้อมือรับขวัญเด็กเมื่อแรกเกิดมีข้าวสุก 3 ก้อน กับก้อนกรวด 1 ก้อน เป็นเครื่องรับขวัญ และกล่าวคำให้พรตามสมควร คลอดมาได้ประมาณ 2-3 วัน ก็ป้อนข้าวให้กินนมเรื่อยไป จะหย่านมเมื่อเห็นเวลาสมควร เช่น เวลาเมื่อมารดาตั้งครรภ์ใหม่

ชาวยางกะเลอนับถือศาสนา พุทธ นิยมไปจัดเฉพาะวันธรรมสวนะในเทศกาลเข้าพรรษา พ้นช่วงนั้นแล้วไม่ค่อยไปเว้นแต่ผู้เฒ่าผู้แก่ที่มีศรัทธาทางพระพุทธศาสนา เพราะชาวยางกะเลอส่วนมาไม่ใฝ่ใจเลื่อมใสในพระพุทธศาสนาอย่างแท้จริงเพียง เริ่มนับถือเท่านั้น เพราะเขาเคยนับถือผีสางเทพารักษ์มาแต่โบราณกาล ถ้าปรากฏว่ามีผู้ตายใน หมู่บ้านจะมีการ อยู่กำบ้าน หนึ่งวันคือเมื่อศพยังอยู่ในบ้านนั้น ชาวบ้านไปทำการงานนอกหมู่บ้านไม่ได้ ต้องอยู่ช่วยงานศพจนกว่าจะเสร็จ และศพเก็บไว้ภายในบ้านเพียง 1 คือ หรือบางที 3 คือเป็นอย่างมาก เวลามีงานชุก เช่น ฤดูทำนา ก็เอาศพไว้เพียงคืนเดียว ทั้งนี้เหมือนกันทั้งศพเด็กและผู้ใหญ่ พิธีทำศพไม่ยุ่งยาก ใช้ผ้าห่มของผู้ตายคลุมศพแล้วห่อด้วยเสื่อและตราสัง แล้วนำศพนั้นไปวางไว้ใกล้หัวบันไดถ้าเป็นศพผู่ใหญ่จะมีขบวนแห่นักร้องเพลงมา นั่งล้อมวงร้องเพลงไว้อาลัยแก่ศพ คล้ายพระสวดมนต์อภิธรรมหน้าศพครั้งแรกเขาให้ผู้เฒ่าร้องเพลง ถัดมาเอาชายหนุ่มร้อง ครั้งที่ 3 เอาหญิงสาวร้อง และครั้งต่อ ๆ ไปก็เอาหนุ่มสาวเปลี่ยนเวรกันร้องเพลงทีละครั้งรอบ ๆ ศพ เนื้อเพลงจะกล่าวคำระลึกถึงดวงวิญญาณ และบอกทางไปสวรรค์ให้แก่ผู้ตาย ถ้าศพนั้นเป็นศพเด็กทารก หรือเด็กเล็ก ๆ ก็ไม่มีพิธีอะไรมากมาย ไม่มีคนร้องเพลงไว้อาลัย การร้องไห้รำพันก็มีเป็นธรรมดาสำหรับญาติผู้ตาย การปลงศพใช้วิธีฝัง เวลาฝังนั้น ญาติพี่น้องของผู้ตายจะจัดหม้อข้าวหม้อแกง จอบเสียบ มีด พร้า และของใช้สอยที่จำเป็นในการครองชีพกับเงินอีกเล็กน้อย แต่เงินนี้นำเอาใส่ปากใส่มือ ไม่ใส่ไว้ในโลง ใช่เสื่อห่อศพและฝังลงไปกับศพ มีคติเชื่อถือกันว่า สิ่งของทุกชิ้นที่ฝังลงไปกับศพนี้ ผู้ตายจะเอาไปใช้ในเมืองสวรรค์  การนำศพจากเรือนไปสู่ ป่าช้า จะนำไปเวลาก่อนเที่ยงเสมอ ไม่มีขบวนแห่ ไม่มีพระสงฆ์คอยนำหรือทำพิธีอื่นใดอีกมีเพียงญาติพี่น้องผู้ตาย และผู้มาช่วยไปส่งเท่านั้น เมื่อฝังศพแล้วก็พากันกลับบ้าน บางคนมีฐานะดี เวลาญาตินำเงินไปฝังให้ถึง 200-300 บาท หรือมากกว่านั้น เพื่อเอาไปใช้จ่ายในระหว่างเดินทางไปสวรรค์ และไม่เคยปรากฏว่าศพเหล่านี้ถูกผู้ร้ายขุดค้นหาทรัพย์
เมื่อฝังศพเสร็จเรียบ ร้อยแล้วจะมีการไว้ทุกข์ คือ อยู่กำบ้าน ให้แก่ผู้ตายอีก 3 วัน แต่การอยู่กำบ้านครั้งนี้ คงทำเฉพาะที่บ้านผู้ตายเท่านั้น การทำบุญอุทิศส่วนกุศลถึงผู้ตายจะทำเมื่อถึงโอกาสอันสมควรการเดินทางไปเที่ยวบ้าน ยางกะเลอที่ตำบลปงน้อย ในสมัย พ . ศ . 2490 นั้น เริ่มจากอำเภอแม่จัน ผ่านตำบลสันทราย ตำบลท่าข้าวเปลือก ตำบลปงน้อย ไปสู่บ้านยาง หมู่ที่ 5 บ้านดอย ซึ่งอยู่ทางทิศตะวันออกของบ้านปงน้อย ประมาณระยะทาง 37 กิโลเมตร ใช้เวลาเดินทางในฤดูแล้ง 12 ชั่วโมง ถ้าฤดูฝนประมาณ 18 ชั่วโมง การคมนาคมไม่สะดวก ต้องเดินทางด้วยเท้า อีกทางหนึ่งคือเดินทางด้วยเรือถ่อล่องไปตามลำน้ำกก ออกจากตัวอำเภอเมือง จังหวัดเชียงราย ไปตำบลท่าข้าวเปลือก แล้วไปตำบลปงน้อย จังหวัดเชียงราย

เผ่าไทลื้อ


ลื้อ หรือ ลือ เป็นกลุ่มชนชาติพันธุ์ที่พูดภาษาตระกูลไท คือ “ ไทลื้อ ” หรือ “ ไตลื้อ ” มีถิ่นฐานดั้งเดิมอยู่ในเขตสิบสองพันนา ชาวไทลื้อนิยมตั้งบ้านเรือนอยู่ตามที่ราบลุ่มแม่น้ำและที่ราบระหว่างหุบเขา โดยมีแม่น้ำโขงเป็นแม่น้ำสายสำคัญซึ่งชาวไทลื้อเรียกว่า “ น้ำของ ” ส่วนจีนเรียกว่า แม่น้ำล้านช้าง และเรียกคนไทลื้อว่า “ หลี่ ” หรือ “ สุ่ยไปอี่ ” ชาวลื้อหรือไทลื้อมีวัฒนธรรมประเพณีและความเชื่อตลอดจนวิถีชีวิตที่คล้าย คลึงกับคนไทยล้านนาและคนลาวในล้านช้าง ที่บริโภคข้าวเหนียวเป็นอาหารหลักและนับถือพุทธศาสนานิกายเถรวาทเช่นเดียว กันสำหรับประเทศไทย ไทลื้อได้อพยพเข้ามาตั้งถิ่นฐานตามหัวเมืองต่าง ๆ ในภาคเหนือตอนบน ในจังหวัดเชียงราย พะเยา น่าน แพร่ ลำปาง ลำพูน และเชียงใหม่ ตั้งแต่อดีตซึ่งได้กวาดต้อนไทลื้อจากสิบสองพันนามาจำนวนมาก บางส่วนได้อพยพเข้ามาเพิ่มเติมภายหลังเพื่อค้าขาย ติดตามญาติพี่น้อง แต่งงานและแสวงหาที่ทำกินที่เหมาะสมหรือหนีภัยสงคราม รวมทั้งอพยพเข้ามาด้วยเหตุผลทางศาสนาและการจาริกแสวงบุญในเวียดนาม มีชุมชนไทลื้ออาศัยอยู่ที่เมืองบินลูห์ และบริเวณฝั่งตะวันตกของแม่น้ำดำตามแนวพรมแดนที่ติดต่อกับจีน

ในเขตประเทศลาว ไทลื้อตั้งถิ่นฐานอยู่ทางภาคเหนือแถบเมืองสิง เมืองลองในแขวงหลวงน้ำทา เมืองอูเหนือ อูใต้ งายเหนือ งายใต้ บุนเหนือ บุนใต้ในแขวงพงสาลี เมืองไซ เมืองแบง เมืองฮุก เมืองหงสาในแขวงอุดมไซ เมืองเงิน เมืองเชียงฮ่อน และเมืองหงสาในแขวงไชยะบุรี นอกจากนี้ยังตั้งชุมชนอยู่รอบ ๆ เมืองหลวงพระบางและกระจายกันอยู่แถบลุ่มน้ำอูและแม่น้ำโขง ในแขวงหลวงพระบางและแขวงบ่อแก้วอีกหลายหมู่บ้าน อาณาจักรสิบสองพันนาในอดีตจัดแบ่งการปกครองออกเป็นระบบ พันนา (อ่าน ว่า “ ปันนา ” ) ซึ่งเป็นการควบคุมพื้นที่นาโดยใช้ระบบเหมืองฝาย ประกอบด้วยพันนาเมืองหลวง พันนาเมืองแช่ พันนาเมืองฮุน พันนาเมืองฮิง พันนาเชียงลอ พันนาเชียงเจิง พันนาเมืองพง พันนาเมืองลา พันนาเชียงทอง พันนาเมืองอู พันนาเมืองล่า และพันนาเชียงรุ่ง โดยมีพระเจ้าแผ่นดินเป็นประมุขเรียกว่า เจ้าแสนหวีฟ้า ประทับ อยู่ที่เมืองเชียงรุ่ง ซึ่งจีนเรียกว่าเมืองเชอหลี่ นอกจากนี้ไทลื้อยังตั้งฐานอยู่ทางภาคตะวันออกเฉียงเหนือของรัฐฉานในพม่าที่ เมืองเชียงลาบ เมืองเลน เมืองป่าแลว เมืองวะ เมืองนำ เมืองฐาน เมืองขัน เมืองพะยาก เมืองยอง เมืองยุ เมืองหลวย เป็นต้น

อาชีพหลักของไทลื้อ
 คือการกสิกรรมเป็นพื้นฐาน ได้แก่ การทำนาและปลูกพืชผักต่าง ๆ ส่วนการเลี้ยงสัตว์เป็นอาชีพรอง ได้แก่ วัว ควาย ส่วนใหญ่เลี้ยงไว้ใช้งานและขายเป็นรายได้เสริมแก่ครอบครัว ส่วนหมู เป็ด ไก่ เลี้ยงไว้สำหรับประกอบพิธีกรรมต่าง ๆ รวมทั้งเป็นอาหารในคราวออกแรงงานร่วมกัน ไทลื้อเป็นคนขยันทำมาหากิน ดังนั้นจึงมีฐานะทางเศรษฐกิจอีกว่าชนเผ่าอื่น ๆ ในปัจจุบัน ชาวไทลื้อบางส่วนได้หันมาประกอบการค้าขาย เช่น ที่เมืองสิงจะสังเกตเห็นว่าเด็กผู้หญิงอายุ 12 – 13 ปี ก็จะเริ่มค้าขายเล็กน้อย ๆ ในท้องถิ่น ส่วนผู้ใหญ่บางคนจะไปค้าขายต่างเมือง เช่น ซื้อสินค้าจากจีนไปขายหลวงน้ำทา อุดมไซ หลวงพระบาง หรือซื้อสินค้าไทยไปขายในท้องถิ่น และบางส่วนเข้าไปในจีนแถบเมืองมางและเมืองล่า สินค้าท้องถิ่นที่สำคัญ ได้แก่ ข้าว กระเทียม หอม ยาสูบ ถั่วโอ (ถั่วหมักคล้ายเต้าเจี้ยว) และพืชผักต่าง ๆ

จารีตครรลองประเพณีที่สำคัญ

การเกิด
ตามปกติหญิงไทลื้อตั้ง ครรภ์ไม่มีข้อห้ามในเรื่องอาหารการกิน คงรับประทานอาหารได้ตามปกติ ครั้นเมื่อถึงเวลาเจ็บท้องใกล้คลอดลูก ผู้เป็นแม่จะนั่งใกล้ ๆ โดยมีผู้ทำคลอด ซึ่งอาจจะเป็นแม่ตัวเองหรือแม่สามีช่วยทำคลอดให้ เมื่อทารกตกถึงฟาก ผู้ทำคลอดจะใช้ป่านผูกสายสะดือใช้มีดตัด(ทำด้วยผิวไม้ไผ่) บรรจุลงในกระบอกไม้ไผ่เจาะรูด้านข้างปิด อัดไว้ เพราะคนลื้อมีความเชื่อว่าถ้าหากไม่เจาะรู จะทำให้เด็กหายใจไม่ได้ หลังจากนั้นทำความสะอาดผู้เป็นแม่และเด็กน้อย แล้วก็ส่งให้แม่รับ ซึ่งจะเลือกจากหญิงที่ประวัติดี มีฐานะดีพอสมควร ไม่เป็นหม้ายหรือหย่าร้างมาก่อน แม่รับอุ้มเด็กไปวางในกระด้งที่เตรียมไว้ แล้วนำไปวางไว้ที่หัวบันไดพร้อมกับตะโกนด้วยเสียงดัง ๆ ว่า “ ผีจะกินก็กินเหแต่น้อย ผีบ่เล้งกูซิเล้ง ” จากนั้นก็เอามามอบให้แม่ของเด็ก สำหรับรกของเด็ก ผู้เป็นพ่อจะเลือกหาวันดีแล้วนำกระบอกใส่รกไปแขวนไว้ที่กิ่งไม้ในป่าข้าง บ้าน ขณะกลับถึงเรือน ถ้าเป็นลูกสาว พ่อของเด็กจะจับเครือที่ทอผ้าก่อน ถ้าเป็นลูกชายก็จะจับมีดตัดไม้ก่อนขึ้นเรือน ที่ทำเช่นนี้เพราะเชื่อว่าเมื่อเด็กเติบโตขึ้น จะมีความอดทนและขยันหมั่นเพียรในการทำงาน ภายหลังคลอดจะต้อง อยู่กำ (อยู่ไฟ) มีกำหนด 30 วัน ภายใน 3 วันแรก จะรับประทานอาหารได้แต่ข้าวกับเกลือเท่านั้นเรียกว่า อยู่กำน้อย เมื่อครบ 3 วัน แล้วก็ทำพิธี ออกกำน้อย โดย นำเอาเกลือมาสู่ขวัญผูกข้อมือให้แก่แม่และเด็กน้อย ผู้เป็นสามารถออกไปนอกห้อง หรือซักเสื้อผ้าได้ อาหารของแม่ระหว่างอยู่กำ รับประทานได้แต่น้ำพริกข่าจิ้มผักต้มและไก่ที่มีขนสีดำ ห้ามอาหารประเภทไข่ เนื้อสัตว์ประเภทวัวควาย นอกจากนี้ยังมีข้อห้ามเพิ่มเติมสำหรับคลอดบุตรคนแรก ซึ่งเรียกว่า ท้องหัวสาว มี ข้อห้ามต่อไปอีก 1 ปี คือห้ามรับประทานเนื้อความเผือก หมูแม่ต้อง (หมูที่มีลูกแล้ว) เนื้อเสือ เก้ง กวาง ปลาร้า ปลาไม่มีเกล็ด ปลาบก ปลาไน เป็นต้น เมื่อครบ 30 วัน จะไปเชิญหมอพรมาสู่ขวัญ ซึ่งต้องฆ่าไก่ 1 ตัว ทำพิธีสู่ขวัญแม่และเด็กน้อย โดยถือว่าวันออกกำเป็นวันเกิดของเด็กน้อยอีกด้วย หมอพรจะนำเด็กไปวางที่หัวบันไดบ้านเพื่อบอกผีสางนางร้ายมาดูพร้อมทำเสียงนำ เค้าแมวแล้วพูดว่า “ แก็ก ๆ กู้... หื้อมาเอิ้นมาเรียกเอาหลานสูคืนเมือถ้าปิ๋นลูกสูหลานสู หื้อมาเรียกเอาป้อกไปเหเดี่ยวบ่ต้องหื้อ เหลือจากวันนี้ก๋ายมื่อนี้วันนี้บ่หื้อมาเกี่ยวข้อง ปิ๋นลูกกูหลานกู ” แล้วกระทืบเท้าให้เด็กน้อยตื่นและพูดต่อไปว่า “ ถ้าตายก็หื้อตายเห หื้อใจขาด คันใจบ่ขาด ก๋ายสามบาทปิ๋นลูกกูหลานกู สูเอาบ่ได้แล้ว ”หมายถึง ให้ผีร้ายมาเรียกเอาลูกหลานกลับคืนในวันนั้น หลังจากนั้นเป็นลูกคน ถัดจากนั้นก็กระทืบเท้าให้เด็กสะดุ้งตื่นแล้วพูดในทำนองว่า ถ้าจะตายก็ขอให้ขาดใจตายทันที ถ้าไม่ตายหลังจากนั้นก็จะเป็นลูกคน หลังจากนั้นหมอพรจะทำ พิธีสวดมนต์ตัดขาดจากผี แล้วนำเด็กน้อยมาทำพิธีสู่ขวัญให้แก่ผู้เฒ่าผู้แก่ พ่อแม่และญาติพี่น้องผูกข้อมือเพื่อให้เป็นลูกเป็นหลานต่อไป

การเลือกคู่ครอง
ชาวไทลื้อเมื่ออายุย่าง เข้าสู่วัยหนุ่มสาว จะมีสิทธิเสรีภาพในการเลือกคู่ครอง ชีวิตคู่ระเริ่มจากประเพณีแอ่วสาว กล่าวคือ พอถึงยามค่ำคืนบรรดาชายหนุ่มจะไปปลุกสาวที่ตนชอบพอถึงหัวนอน หากสาวพอใจก็จะออกมาพูดคุยกันที่ชานบ้าน ถ้าเป็นยามฤดูหนาวบรรดาสาว ๆ จะนัดเพื่อนสาวละแวกบ้านใกล้เรือนเคียงมาลงข่วงปั่นฝ้ายรอบ ๆ กองไฟบริเวณลานบ้าน หนุ่มลื้อก็จะชวนกันมาแอ่วสาวปั่นฝ้ายกลุ่ม ๆ ในระหว่างเดินทางหรือขณะพูดคุยกับสาว ๆ ก็จะขับลำนำเคล้าเสียงปี่ในเชิงเกี้ยวพาราสีโต้ตอบกันไปเรียกว่า “ ขับลื้อ ” พอถึงยากดึกต่างก็แยกกันกลับบ้าน โดยมีชายหนุ่มที่รักใคร่ชอบพอช่วยถือฝ้ายไปส่งถึงเรือน แล้วผู้สาวก็จะเชิญชวยหนุ่มขึ้นไปคุยกันต่อบนเรือน จนกระทั่งเลยสองยามอาจถึงสามนาฬิกาของวันใหม่จึงร่ำลากลับ เมื่อต่างฝ่ายรักใคร่จริงใจต่อกันแล้วก็จะบอกให้พ่อแม่ทราบ เพื่อขอความเห็นชอบและนัดเจรจาสู่ขอ ตามธรรมเนียมของชาวไทลื้อนั้น ก่อนการสู่ขอ พ่อแม่จะไปหาผู้รู้หรือปราชญ์ชาวบ้านช่วยพิจารณาชะตาของหนุ่มสาวเรียกว่า ทำ พิธีไขว่ หมาย ถึงการสืบสวนถึงประวัติการสืบสายโลหิตของทั้งสองฝ่าย ถ้าหากเป็นญาติใกล้ชิดชะตาจะขวางกัน แต่งงานกันไม่ได้ หากฝ่าฝืนจะเกิดภัยพิบัติแก่พ่อแม่หรือญาติผู้ใหญ่ เช่น ปู่ ย่า ตา ยาย อาจเป็นอัมพาตหรือมีเหตุร้ายเกิดขึ้นกับบุคคลเหล่านั้น ถือว่าเป็นข้อห้ามสำคัญซึ่งเป็นจารีตของสังคมไทลื้อ เมื่อฝ่ายชายได้รับความ ยินยอมจากพ่อแม่แล้ว ก็จะมอบหน้าที่ให้ “ พ่อใช้ ” ซึ่งโดยปกติจะเป็นญาติหรือนายบ้านพร้อมญาติผู้ใหญ่อีกคนหนึ่งไปเจรจาสู่ขอ พิธีสู่ขอใช้ขันห้า คือ พาน มีดอกไม้และธูป 5 คู่ หมากพลู ในการเจรจาสู่ขอจะกล่าวเป็นคำกลอนที่คล้องจองกัน ฝ่ายหญิงอาจตอบตกลงหรือเจรจาถามความสมัครใจของลูกสาวก่อน โดยจะให้พ่อใช้ฝ่ายหญิงไปแจ้งข่าวภายหลัง กินดองน้อย เมื่อ ทั้งสองฝ่ายตกลงเป็นเอกภาพกันดีแล้วก็จะนัดวันหมั้น ซึ่งเรียกว่า กินดองน้อย ในวันกินดองน้อย ฝ่ายหญิงจะฆ่าหมู 1 ตัว และไก่อีกจำนวนหนึ่ง จัดสำรับอาหารเลี้ยงต้อนรับญาติผู้ใหญ่ของฝ่ายชาย ส่วนฝ่ายชายจะมอบกำไลเรียกว่า ปลอกแขนขวัญ น้ำหนักเงิน 2 หมัน 5 บี้ ให้แก่คู่หมั้น ถ้าหากคู่หมั้นมีพี่ชายหรือพี่สาวที่ยังเป็นโสดจะต้องเตรียมอีก 2 หมัน 5 บี้ ใส่พานไปมอบให้เพื่อ “ ข่มขวัญอ้ายเอื้อย ” ภายหลังพิธีหมั้นแล้วฝ่ายชายจะอยู่ในฐานะเป็น เขยพราง คือ อยู่ไปพลางก่อน หลังจากนั้นก็ทำพิธีเซ่นไหว้บอกเทวดาเรือน (ผีเรือน) เขยพรางจะอยู่ในฐานะเป็น คนสองเรือน สามารถไปมาหาสู่นอนค้างคืนได้เพื่อช่วยการงานที่บ้านฝ่ายหญิง แต่ยังไม่มีสิทธ์หลับนอนด้วยกัน ในระหว่างนั้นชายจะไม่ไปเกี้ยวพาราสีหญิงอื่น ส่วนหญิงก็จะไม่ไปลงข่วงปั่นเหมือนแต่ก่อน ทั้งจะตั้งใจเก็บหอมรอมริบเพื่อสร้างฐานะครอบครัวเตรียมกายเตรียมใจที่จะ เข้าสู่พิธีแต่งดองเรียกว่า สู่ขวัญโอม ซึ่งเขยพรางจะ เปลี่ยนสถานภาพเป็นเขยสู่ เพื่ออยู่กินกันฉันสามีภรรยาต่อไปตามปกติ ระยะเวลาจากเขยพรางไปหาเขยสู่จะกินเวลา 3 เดือน ถึง 1 ปี

กินแขกแต่งดอง

เป็นพิธีแต่งงานของเผ่า ลื้อ นิยมทำกันหลังเทศกาลออกพรรษา คือ เดือนเกี๋ยง หรือเดือนยี่ คือราวเดือนพฤศจิกายนหรือธันวาคมเป็นต้นไป นิยมทำในเดือนคู่ โดยให้พระสงฆ์หรือผู้รู้ในหมู่บ้านเลือกหามื้อใสวันดีให้เพื่อเป็นสิริมงคล แก่คู่บ่าวสาว พิธีกินดองของเผ่าลื้อจะที่บ้านของฝ่ายหญิง โดยให้ทั้งสองฝ่ายรับผิดชอบค่าใช้จ่ายร่วมกัน ส่วนที่นอนหมอนมุ้งฝ่ายหญิงจะจัดหาหรือทำเองเตรียมไว้เมื่ออยู่ในวัยสาว โดยปกติงานวันที่ฝ่ายหญิงจัดเตรียมสิ่งของเครื่องใช้และอาหารบางอย่างไว้ ล่วงหน้าเพื่อเลี้งแขกในวันรุ่งขึ้น วันที่สองเป็นวัน “ กินดอง ” จะมีแขกซึ่งเป็นญาติของฝ่ายชายและฝ่ายหญิงรวมทั้งชาวบ้านมาร่วมจำนวนมาก พิธีกินดองเริ่มจากพิธีแห่เขยไปสู่เรือนเจ้าสาว เมื่อถึงหัวบันไดจะมีหญิงผู้หนึ่งที่เป็นกุลสตรีของหมู่บ้านเรียกว่า แม่คนดี รีบ เอาถุงเงิน ง้าว (ดาบ) และมีดอุ่ม (มีดเหน็บ) จากเจ้าบ่าว นำไปมอบให้ญาติผู้ใหญ่ของเจ้าสาว แล้วเข้าพิธีบายศรีเรียกว่า “ สู่ขวัญโอม ” ในพิธีสู่ขวัญโอมจะมีญาติผู้ใหญ่ของทั้งสองฝ่ายมาผูกข้อมืออวยพรให้แก่คู่ สมรส หลังจากนั้นก็จะแห่สะใภ้มายังเรือนฝ่ายชาย ทำพิธีเซ่นไหว้เทวดาเรือนเพื่อขอรับเอาเขยไปอยู่เรือนของตน ในขณะเดียวกันญาติของฝ่ายชายก็จะทำพิธีสู่ขวัญรับสะใภ้ใหม่เพื่อเป็นสิริ มงคลแก่เจ้าสาว ตามครรลองประเพณีของลื้อที่เคยปฏิบัติสืบต่อกันมา เขยสู่ จะ อาศัยอยู่กับพ่อตาแม่ยาย 3 ปี แล้วจึงแต่งดองกลับคืนไปอยู่เรือนพ่อแม่สามีอีก 3 ปี เรียกว่า “ สามปีไป สามปีป้อก ” ในพิธีแต่งดองกลับคืน จะมีการฆ่าหมู 1 ตัว ไก่อีกจำนวนหนึ่งทำพิธีสู่ขวัญและเงินสินสอดอีก 15 หมัน ก่อนจะลงจากเรือน ก็ทำพิธีบอกกล่าวเทวดาเรือนเพื่อไปอยู่กับพ่อแม่ของสามีจนครบ 3 ปี จึงจะปลูกเรือนหลังใหม่ได้เพื่อแยกสร้างครอบครัว

เผ่าเมี่ยน ( เย้า)



เมี่ยน ( เย้า) ได้รับการจัดให้อยู่ในพวกมงโกลอยด์ คือ เป็นชาวเขาสายจีน- ธิเบต ในกลุ่มจีนเดิม เรียกตนเองว่า " เมี่ยน" (MIEN) หรือ " อิ้วเมี่ยน" (IU MIEN) มีถิ่นฐานเดิมอยู่ในประเทศจีนตอนใต้ แถบมณฑลกวางสี กวางเจา และยูนนาน เมี่ยนที่เข้ามาในประเทศไทยสันนิษฐานว่าอพยพมาจากประเทศจีน และอพยพลงมาเรื่อย ๆ โดยเข้ามาในลาว ( ราว พ. ศ. ๒๓๙๓) และพม่าก่อน แล้วจึงอพยพเข้ามาในประเทศไทย ในส่วนนี้ยังไม่มีหลักฐานแน่ชัดว่า เมี่ยน ( เย้า) เข้ามาในประเทศไทยครั้งแรกเมื่อไหร่ คาดว่าประมาณราว พ. ศ. ๒๔๓๓ หรือประมาณเมื่อ ๑๐๐ ปีเศษ ที่ผ่านมา( อ้างจาก สายเมือง, ๒๕๒๙, อ้างจาก ขจัดภัย, ๒๕๒๘, อ้างจาก วนัช, ๒๕๒๘, หน้า ๑ ( เอกสารโรเนียว)


โครงสร้างการปกครอง
ชาวเมี่ยนมีผู้นำทางวัฒนธรรม เป็นผู้ประกอบพิธีกรรมตามความเชื่อ เทียบเท่ากับผู้ใหญ่บ้าน เมี่ยนเรียกว่า " ล่างเจี๊ยว " คอยดูแลความประพฤติของชาวบ้าน คอยส่งเสริมให้เกิดความรักใคร่สามัคคี รู้จักประนีประนอม เป็นผู้ให้ความเป็นธรรม คอยไกล่เกลี่ยเวลาที่เกิดกรณีพิพาท หรือมีเรื่องบาดหมาง โดยใช้กฎและระเบียบของสังคมชาวเมี่ยน ตามจารีตประเพณีเป็นเกณฑ์ตัดสิน คล้ายกับเป็นผู้รักษากฎระเบียบการอยู่ร่วมกันของสังคม ( ศูนย์ศิลปชนแห่งประเทศไทยและคณะ, ๒๕๓๕, หน้า ๑๐๔- ๑๐๕)

โครงสร้างทางสังคม
•ครอบครัว
ระบบครอบครัวของชาวเมี่ยนมีทั้งครอบครัวเดี่ยวและครอบครัวขยาย โดยปกติแล้ว ครอบครัวขยายนั้นจะขยายทางฝ่ายผู้ชาย คือ บุตรชายแต่งงานก็จะนำภรรยามาอยู่บ้าน ส่วนบุตรสาวเมื่อแต่งงานแล้ว ก็ต้องไปอยู่บ้านของฝ่ายชาย จะมีในกรณีที่บ้านของฝ่ายหญิงมีลูกสาวคนเดียว เมื่อแต่งงานกันฝ่ายชายต้องมาอยู่ที่บ้านภรรยา เมื่อมีลูกก็ต้องใช้ตระกูลและนับถือผีบรรพบุรุษของฝ่ายหญิง เนื่องจากทางฝ่ายหญิงไม่มีผู้สืบตระกูลและเลี้ยงดูพ่อแม่ ในกรณีเช่นนี้ฝ่ายชายไม่ต้องจ่ายค่าสินสอด และต้องอยู่เลี้ยงดูพ่อแม่ของภรรยาตลอดไป
•การแต่งงาน
หญิงชายมีอิสระในการเลือกคู่ โดยใช้ความรักและความเหมาะสมเป็นหลักใหญ่ ไม่มีการบังคับแต่อย่างใด จะมีบ้างก็บางกรณีที่พ่อแม่ทั้งสองฝ่ายเห็นว่า เหมาะสมกันฝ่ายชายก็ขยันขันแข็ง ฝ่ายหญิงก็ขยันทำงาน อีกทั้งพ่อแม่ทั้งสองฝ่ายเป็นเพื่อนกัน ในกรณีนี้ก็อาจจะให้ลูกแต่งงานกัน แต่อย่างไรก็ตามก็ต้องถามความสมัครใจของลูกด้วย การแต่งงานของเมี่ยนแบ่งได้ ๒ แบบ คือ การแต่งงานเล็กและการแต่งงานใหญ่ การแต่งงานเล็กนั้นกระทำที่บ้านผู้หญิง ส่วนการแต่งงานใหญ่นั้นกระทำที่บ้านผู้ชาย มีการกินเลี้ยงกันถึง ๓ วัน ๓ คืน ต้องเสียค่าใช้จ่ายมาก เมื่อหญิงแต่งงานและลอดประตูผีออกไปแล้ว ถือว่าขาดจากการนับถือผีบรรพบุรุษของตนแล้ว ต้องไปนับถือผีบรรพบุรุษของฝ่ายสามีต่อไปค่านิยมทางสังคมบางอย่างการซื้อเด็กเผ่าอื่นมาเลี้ยงเป็นบุตรบุญธรรม ทั้งนี้เพื่อเพิ่มแรงงานภายในครอบครัว เด็กที่ถูกซื้อมาเป็นบุตรบุญธรรม ก็จะได้รับการปฏิบัติเหมือนกับลูกคนหนึ่ง ไม่มีการแบ่งแยก จะใช้แซ่ตระกูลและนับถือผีบรรพบุรุษเดียวกัน เด็กที่ถูกซื้อมาเป็นบุตรบุญธรรมอย่างน้อยร้อยละ ๑๐ จะซื้อมาจากพวก ม้ง อาข่า ลาหู่ ไทยใหญ่ ขมุ ลาว และไทย( ขจัดภัย อ้างแล้ว, ๒๕๒๘)

•การกระจายตัว
จากการสำรวจเมื่อปี พ . ศ. ๒๕๓๘ ของสำนักงานสถิติแห่งชาติ ศูนย์พัฒนาและสงเคราะห์ชาวเขา และสภาความมั่นคงแห่งชาติ พบว่ามีจำนวนประชากรเมี่ยนที่อยู่ในประเทศไทยราว ๔๗, ๓๐๕ คน ไม่นับผู้ที่อยู่ในค่ายผู้ลี้ภัยต่างๆ อาศัยอยู่หนาแน่นที่สุดในเขตจังหวัดเชียงราย น่าน พะเยา ลำปาง มีจำนวนไม่น้อยที่อยู่ในจังหวัดที่อยู่ในจังหวัดกำแพงเพชร เชียงใหม่ สุโขทัย และมีกระจายอยู่บ้างในเขตจังหวัดตาก และเพชรบูรณ์

•ระบบเศรษฐกิจ
เดิมชาวเผ่าเมี่ยนยึดหลักการผลิตเพื่อยังชีพ แต่ปัจจุบันต้องปรับตัวให้เข้ากับการเปลี่ยนแปลงของยุคสมัย ต้องทำการผลิตเพื่อการค้า ได้แก่การผลิต ข้าวโพด ขิง พริก ถั่วแดง ฟักทอง มะขาม ลิ้นจี่ มะม่วง นอกจากพืชเศรษฐกิจดังกล่าวแล้ว ชาวเมี่ยนก็ยังต้องพึ่งตนเอง โดยการทำไร่หมุนเวียน ไม่ใช่ไร่เลื่อนลอยตามที่เรียกและพลอยเข้าใจผิด ๆ มานาน กล่าวคือ จะใช้พื้นที่เพาะปลูกหมุนเวียน ๔ - ๕ ปีและไม่เกิน ๗ ปี เพื่อจะย้อนกลับมาทำที่เดิมอีก ( ทิ้งระยะนานเท่าใดขึ้นอยู่กับจำนวนครัวเรือน และบริเวณพื้นที่ของชุมชน) เพื่อให้ดินได้ฟื้นตัว สร้างความชุ่มชื้นและต้นไม้จะขึ้นมาอีกโดยทั่วไปแล้วเมื่อฟัน- เผาเสร็จ เมี่ยนจะปลูกพืชทำกินไม่เกิน ๒ ปีติดกัน จากนั้นจะย้ายแปลงหมุนเวียนเช่นนี้ไปเรื่อย ๆ( อ้างจาก จดหมายข่าว ชีวิตบนดอย ฉบับที่ ๖, ๒๕๓๔, หน้า ๑๔)

•ลักษณะบ้าน

ลักษณะบ้านเรือนของเมี่ยนปัจจุบันแยกออกเป็น ๒ ลักษณะ คือ

- ลักษณะแบบดั้งเดิม

- ลักษณะแบบปัจจุบัน

-ลักษณะแบบดั้งเดิม

จะปลูกบ้านคร่อมดิน ใช้พื้นดินเป็นพื้นบ้าน วัสดุที่ใช้ได้จากไม้ไผ่ ไม้สักและไม้เนื้อแข็ง ใช้สำหรับทำเสาเท่านั้น บ้านมีลักษณะเป็นรูปสี่เหลี่ยมผืนผ้า หลังคาอาจมุงด้วยหญ้าคา ไม้เกล็ด ไม้สัก ซึ่งนำมาถากเป็นแผ่นๆ ใบหวายและไม้ไผ่ ฝาบ้านอาจเป็นไม้เนื้ออ่อนแล้วถากให้เรียบ การกั้นฝาบ้านจะกั้นเป็นแนวตั้ง บางทีก็ใช้ไม้ไผ่สานขัดแตะ จะมุงหลังคาเทลาดต่ำลง เป็นการออกแบบป้องกันภายในบ้านจากลมและฝน พื้นโล่ง นอกจากที่สำหรับนอน จะมีทั้งพื้นและผนังกั้น ห้องต่างๆ จะถูกแบ่งด้วยไม้ไผ่สานขัดแตะ หรือไม้เนื้ออ่อนเป็นแผ่น จะมีประตูทางหน้าบ้าน หลังบ้าน และด้านข้างซึ่งถือกันว่า เป็นประตูผี ขนาดของบ้านขึ้นอยู่กับสมาชิกในครอบครัว

-ลักษณะแบบปัจจุบัน
จะมี ๒ ลักษณะ คือ จะปลูกยกพื้นเหมือนบ้านคนพื้นราบ วัสดุที่ใช้อาจเป็นไม้สักทั้งหลัง หลังคามุงด้วยกระเบื้องหรือสังกะสี ออกแบบปลูกสร้างโดยช่างไม้ที่จ้างจากพื้นราบ อีกลักษณะหนึ่ง ปลูกคร่อมดิน ซึ่งพัฒนามาจากบ้านแบบดั้งเดิม แต่ได้เปลี่ยนวัสดุในการปลูกสร้าง ซึ่งเป็นไม้ไผ่, ใบหวาย, หญ้าคา มาเป็น ไม้สักทั้งหลัง หลังคามุงกระเบื้องหรือสังกะสี ( อ้างจาก คู่มือการทำงานกับชาวเขา, กันยายน ๒๕๓๑, หน้า ๒- ๓)

•ครอบครัวและเครือญาติ
ครอบครัวของเมี่ยนนั้นส่วนมากจะเป็นครอบครัวขยาย คือ มีคู่สมรสในครอบครัวหลายคู่ เช่น ปู่ - ย่า พ่อ- แม่ ลูกชาย- ลูกสะใภ้ และหากครอบครัวใดมีลูกชายหลายคน ก็อาจจะมีคู่สมรสมากขึ้น สมาชิกในครอบครัวก็อาจจะมีตั้งแต่ ๒- ๒๐ คน ซึ่งประกอบด้วย ปู่ ย่า บิดา มารดา ลูกชาย ลูกสะใภ้ ลูกสาวที่ยังไม่แต่งงาน หลาน( ลูกของลูกชาย) ในครอบครัวก็จะมีหัวหน้าครอบครัว ทุกคนจะต้องเคารพเชื่อฟังหัวหน้าครอบครัว และแต่ละคนในครอบครัวก็จะเคารพกันตามศักดิ์ ให้ความเคารพแก่ผู้อาวุโส การนับญาติจะเกิดขึ้นทางฝ่ายชาย ในแต่ละตระกูลจะมีรุ่นของตระกูล บางตระกูลมี ๔ รุ่น บางตระกูลก็มีถึง ๕ รุ่น การนับรุ่นจะนับตั้งแต่รุ่นแรกไปเรื่อยๆ จนครบ ๔ หรือ ๕ รุ่น ( ขึ้นอยู่กับแต่ละตระกูล) แล้วก็จะเวียนกลับมานับที่รุ่นแรกใหม่ เวียนไปเช่นนี้เรื่อยๆ หากต้องการทราบว่าคน ๆ นั้นเป็นญาติหรือไม่ ก็ต้องทราบก่อนว่ามาจากตระกูลไหน เมื่อทราบว่ามาจากตระกูลเดียวกัน นั่นก็หมายความว่าเป็นญาติกัน ก็มักจะถามต่อเพื่อให้ทราบว่าเป็นลูกของใคร การถามเช่นนี้จะทำให้ทราบว่าเป็นรุ่นไหน และเป็นญาติกันอย่างไร จะเรียกกันแบบไหน เช่น เป็นปู่ ลุง ป้า อา หลาน หรือรุ่นเดียวกัน

•ศาสนา / ความเชื่อ

ชาวเมี่ยนมีความเชื่อในเรื่องของสิ่งเหนือธรรมชาติ สิ่งที่เมี่ยนนับถือ คือ เทวดา หรือ เทพและวิญญาณบรรพบุรุษ (Pantheism) เทพที่ชาวเมี่ยนนับถือและถือว่าสำคัญที่สุด มี ๑๘ องค์ด้วยกัน มีอำนาจลดหลั่นกันมาตามลำดับ ในจำนวน ๑๘ องค์นี้มีอยู่ ๓ องค์ที่ถือว่ามีอำนาจสูงสุด เรียกว่า " ฟามฌิง" หรือสามดาว เทพทั้ง ๑๘ องค์นี้ จะมีภาพวาดซึ่งถือเสมือนเป็นเสื้อของเทพ เวลาอัญเชิญมาในพิธีก็จะสถิตในรูปวาด รูปวาดนี้ตามปกติจะม้วนห่อไว้ในห่อผ้าหรือกรุ ซึ่งเรียกว่า " เมี้ยนคับ" จะเอาออกมาก็เฉพาะในพิธีสำคัญๆ เท่านั้น เช่น พิธีบวช หรือพิธีศพ ผีที่ต้องเซ่นไหว้เป็นประจำ ได้แก่ ผีเรือนหรือวิญญาณบรรพบุรุษ จะทำแท่นบูชาไว้ในบ้านติดฝาผนังปิดด้วยกระดาษ ไม้ไผ่ ไม่มีรูปปั้นหรือรูปภาพอย่างใด นอกจากมีกระถางธูปเล็กๆ ถ้วยข้าว ถ้วยน้ำ ในหมู่บ้านของเมี่ยนจะมีหมอผี หรือหมอศาสนาในการประกอบพิธีกรรม เรียกว่า " ซิมเมี้ยนเมี่ยน" ประกอบพิธีกรรมต่างๆ และทำหน้าที่หมอรักษาประจำหมู่บ้านไปด้วย เมี่ยนจะมีคำภีร์หรือตำราเขียนเป็นภาษาจีน มีไม้เสี่ยงทายคู่หนึ่ง มีการเผากระดาษเงินกระดาษทอง ทำความเคารพแบบคนจีน คนเมี่ยนเชื่อว่าในร่างกายของคนเรามีขวัญอยู่ทั้งหมด ๑๑ ขวัญ ขวัญพวกนี้ชอบออกไปจากร่างกายคนเมื่อยามเจ็บป่วย ได้รับอันตรายหรือตกใจ การรักษาจำเป็นต้องเรียกขวัญกลับมา (ขจัดภัย อ้างแล้ว, ๒๕๒๘, หน้า ๖๙- ๗๐)

•การแต่งกาย

เครื่องแต่งกายของชาวเมี่ยนในอดีต จะทำการผลิตขึ้นมาใช้เองตั้งแต่กระบวนการแรก คือ ปลูกฝ้าย ปั่นด้าย ทอผ้า และนำมาปักลวดลายก่อนเย็บเป็นเครื่องแต่งกาย ผู้หญิงเมี่ยนทุกคนจะต้องหัดปักผ้าตั้งแต่อายุ ๘ ขวบ พอเริ่มเป็นสาวรุ่นอายุ ๑๓ - ๑๔ ปี ก็จะปักลวดลายสำหรับตัวเอง แต่ละคนจะปักลวดลายอย่างประณีต

เครื่องแต่งกายของผู้หญิงเมี่ยน ประกอบด้วย
๑. กางเกง ( โหว)กางเกงของผู้หญิงมีลักษณะคล้ายกางเกงขาก๊วย แต่จะปักด้วยลวดลายที่สวยงามมาก วิธีนุ่งก็คล้ายกับนุ่งกางเกงขาก๊วย บางทีก็อาจใช้สายผ้ารัดให้แน่อีกชั้นก่อนจะพันทับด้วยผ้ามัดเอว

๒. เสื้อ ( อลุย)ตัวเสื้อเป็นสีดำยาวคลุมถึงเท้า ผ่าหน้าตลอด สาบเสื้อด้านในจะปักด้วยลวดลายรอบคอลงมาถึงเอว และติดด้วยไหมพรมสีแดงรอบคอจนถึง เอวเช่นกัน ตัวเสื้อชิ้นหน้าและชิ้นหลังจะแยกกัน โดยด้านข้างจะผ่าตั้งแต่ชายจนถึงเอวทั้งสองข้างและติดพู่สีแดง ส่วนด้านหลังเป็นผ้าผืนเดียวยาวคลุมส้นเท้า แขนยาว รอบปลายแขนจะขลิบด้วยผ้าสีขาว แดง ดำ และเดินด้วยด้ายที่สานขึ้นเองสีขาว - แดง ( อาจมีสีอื่นด้วย) กระดุมเสื้อจะทำด้วยเงินเป็นแผ่นสี่เหลี่ยมทำที่เกี่ยวด้านใน เสื้อตัวหนึ่งจะใช้กระดุม ๑๒ อัน ส่วนมากจะติดเฉพาะเสื้อที่ใช้ในงานสำคัญๆ เท่านั้น โดยทั่วไปจะใช้เข็มกลัด

๓. ผ้าโพกศีรษะ ( ฆ่องเป่ว)จะเป็นผ้าสีดำ มีความยาวประมาณ ๔ - ๕ วา กว้างประมาณ ๑ ฟุต ปลายผ้าทั้งสองข้างจะปักด้วยลวดลายสวยงาม การโพกศีรษะของเมี่ยนมี ๒ แบบ คือ แบบหนึ่งจะโพกแบบวนรอบๆ ศีรษะ แล้วปล่อยให้ชายผ้าที่มีลวดลายโผล่มาสองข้างซ้าย- ขวา ส่วนอีกแบบหนึ่งนั้น มีลักษณะคล้ายกากบาท จะไม่ปล่อยชายออกมาแต่จะมีการปักลวดลายเมื่อโพกศีรษะแล้วลายจะอยู่กลางหน้าผากพอดี

๔ . ผ้าพันเอว ( หละ ซิน)จะมีลักษณะเช่นเดียวกับผ้าโพกศีรษะวิธีการนุ่ง จะสวมกางเกงก่อน แล้วโพกศีรษะ จากนั้นสวมเสื้อ แล้วพันด้วยผ้าพันเอว โดยมัดแล้วปล่อยชายทั้งสองข้างไว้ข้างหลัง ส่วนเสื้อสองแผ่นหน้าก็จะม้วนแล้วผูกเอวไว้ เพื่ออวดลวดลายที่สวยงามของกางเกง

เครื่องแต่งกายของผู้ชายเมี่ยน ประกอบด้วย

๑. การเกง ( โหว)กางเกงของผู้ชายมีลักษณะแบบกางเกงขาก๊วย ไม่ปักลวดลาย ใช้ผ้าสีดำ หรือสีกรม

๒. เสื้อ ( อลุย)ตัวเสื้อจะเป็นผ้าทอสีดำหรือสีกรม แขนยาว ปลายแขนกุ้นด้วยผ้าสีขาว - แดง- ดำ เช่นเดียวกับชายเสื้อ มีกระเป๋า ๒ ข้างปักด้วยลวดลายตัวเสื้อผ่าคล้ายเสื้อคนจีน ใช้กระดิ่งเงินติดเป็นกระดุม

•วิธีการนุ่ง
สวมกางเกงก่อน แล้วสวมเสื้อทับ ในสมัยก่อนผู้ชายก็โพกศีรษะด้วยเช่นกัน แต่ในปัจจุบันนี้ ไม่นิยมโพกกันแล้ว อาจเพราะยุ่งยากและไม่สะดวก
 

ชนชาวมูเซอ เป็นชาวเขาเผ่าหนึ่งของประเทศไทย ซึ่งมีจำนวนประชากรมากเป็นลำดับที่ ๓ รองจากกะเหรี่ยงและแม้ว มูเซอจะเรียกตัวเองว่า ล่าหู่ (LAHU)ชาวเขาเผ่านี้มีเชื้อสายมาจากพวกโลโล ซึ่งเป็นกลุ่มที่เคยรุ่งเรืองมาก่อนในแถบที่ราบสูงทิเบต หลักฐานจากบันทึกทางประวัติศาสตร์ของจีน ก่อนคริสต์ศตวรรษที่ ๒๐ กล่าวถึงมูเซอว่า จีนได้จัดให้ชนเผ่านี้เป็นพวก ซางตี่เอียน เดิม อยู่ในที่ราบสูงทิเบต - ชิงไห่ และมีการอพยพเคลื่อนย้ายอยู่เรื่อย ๆ ตามสัตว์เลี้ยง


 ( แสดงว่าชนเผ่ามูเซอเป็นกลุ่มเร่ร่อนมาก่อน )คำว่า มูเซอ นี้ นักมานุษยวิทยาบางท่านสันนิษฐานว่า มาจากคำที่พวกพม่าและไทใหญ่ในรัฐฉานใช้เรียกชนกลุ่มนี้ มีความหมายว่า นายพราน ซึ่งสอดคล้องกับลักษณะนิสัยอันโดดเด่นของมูเซอที่มีความเชี่ยวชาญในการล่าสัตว์ และไทยก็ใช้คำนี้เป็นภาษาทางราชการตลอดมา
นักภาษาศาสตร์จัดกลุ่มภาษาของมูเซอแยกจากสายตระกูลแม่ คือ สายตระกูลจีน - ทิเบต (Sino Tibetan)

ประวัติการอพยพ
Anthony R.Walker นักมานุษยวิทยาชาวอเมริกัน ซึ่งเคยค้นคว้าเกี่ยวกับมูเซอ ได้กล่าวถึงบันทึกทางประวัติศาสตร์ที่เกี่ยวกับมูเซอไว้ว่า ก่อนคริสต์ ศตวรรษที่ ๑๙ พวกมูเซอเคยเร่ร่อนมาก่อน ต่อมาได้มีอาณาจักรของตัวเองในดินแดนที่เรียกว่า “ ดินแดนแห่ง ๑๘ หัวหน้าเผ่า ” โดยมีเมืองหลวงชื่อ “ ลิเคียงกาซี ” อยู่ในแถบมณฑลยูนนาน ศาสตราจารย์ต้วน ลีเซิง นักมานุษยวิทยาจากมหาวิทยาลัยปักกิ่ง ได้ให้ข้อมูลเพิ่มเติมว่า มีมูเซอในมณฑลยูนนาน ( ปี พ . ศ . ๒๕๒๕ ) ถึง ๓๒๐ , ๐๐๐ คน และ อยู่ในพื้นที่อำเภอล้านช้างถึง ๑๕๔ , ๐๐๐ คน ฉะนั้นจึงสันนิษฐานว่าชุมชนใหญ่ของมูเซอคงจะอยู่ที่อำเภอล้านช้าง ในแถบสิบสองพันนา มณฑลยูนนานนั่นเอง ต่อมาช่วงต้นคริสต์ ศตวรรษที่ ๑๙ จีนได้ให้อำนาจปกครองตัวเองแก่มูเซอ โดยยังคงให้อยู่ภายใต้อำนาจปกครองของจีน แต่เมื่อจีนเปลี่ยนแปลงนโยบายทางการเมือง ก็ส่งทหารเข้ามาควบคุมดินแดนของมูเซอ ทำให้กลุ่มมูเซอไม่พอใจและกระทำการต่อต้านแต่ไม่สำเร็จ บางกลุ่มจึงต้องจำยอมอยู่ภายใต้อาณัติของจีนจนกลายเป็นชาวจีน ส่วนกลุ่มอื่น ๆ ที่ไม่ยอมถูกกดขี่ ก็พากันอพยพลงทางใต้สู่แคว้นเชียงตุงซึ่งอยู่ ในเขตสหภาพพม่าปัจจุบัน
ขณะมีการอพยพนั้น เขตเชียงตุงอยู่ในอำนาจปกครองของอังกฤษ เมื่อชาวมูเซอเข้ามาอยู่มนเชียงตุงก็พบปัญหาถูกชาวอังกฤษ ( โดยเฉพาะกลุ่มหมอสอนศาสนา ) พยายามโน้มน้าวให้นับถือศาสนาคริสต์ ชาวมูเซอซึ่งมีความศรัทธาต่อศาสนาดั้งเดิมของตัวเองไม่ปรารถนาเช่นนั้น จึงเกิดการรวมกลุ่มขึ้นเพื่อสร้างอาณาจักรของตัวเอง ให้เป็นอิสระจากการเข้าครอบงำของอังกฤษ แต่ก็ถูกทหารอังกฤษปราบปราม จนต้องหนีเข้าประเทศไทย ผู้นำการอพยพครั้งนั้นชื่อ “ มะแฮ - กื่อซา ” เป็นผู้นำทางศาสนาที่สำคัญของมูเซอ การอพยพครั้งใหญ่เกิด ขึ้น เมื่ออังกฤษคืนเอกราชให้พม่าปกครองตนเอง พม่าจึงใช้นโยบายปราบปรามชนกลุ่มน้อย ซึ่งรวมถึงมูเซอด้วย ทำให้มูเซอต้องลุกขึ้นต่อต้านอีกครั้งหนึ่งและผู้นำการต่อต้านครั้งนี้ คือผู้นำทางศาสนาเช่นเดียวกัน ชื่อ “ เหมาะนะตูโบ ” การรวบรวมผู้คนเพื่อต่อต้านพม่าครั้งนี้สามารถรวบรวมชาวมูเซอได้เป็นจำนวน มาก รวมทั้งทรัพย์สินเพื่อซื้ออาวุธไว้ต่อสู้ด้วย ทั้งนี้เนื่องมาจากศรัทธาที่ชาวมูเซอมีต่อผู้นำทางศาสนาของตนนั่นเอง แต่การต่อต้านก็ไม่ประสบผลสำเร็จเช่นเคย เหมาะนะตูโบจึงต้องพาบริวารหนีเข้าเขตไทยสู่บ้านต้นน้ำขุนมาว ตำบลม่อนปิน อำเภอฝาง จังหวัดเชียงใหม่ และเสียชีวิตในที่นี้เมื่อปี พ . ศ . ๒๕๒๗ – ๒๕๒๘ นับเป็นการอพยพครั้งสำคัญของมูเซอที่เข้าสู่ประเทศไทย
ผลจากการอพยพเข้าสู่ไทย ของเหมาะนะบูโตทำให้บริวารแตกกระจัดกระจายไปหลายกลุ่ม กลุ่มที่สำคัญและก่อให้เกิดปัญหาอาชญากรรมแก่รัฐบาลไทยต่อมาคือ กลุ่มพญาจะอือ ซึ่งเป็นลูกของเหมาะนะบูโต และกลุ่ม “ เอบิ ” ซึ่งเป็นลูกน้องของพญาจะอือ ๒ กลุ่มนี้มีเครือข่ายการปฏิบัติงานโยงใยกับขบวนการขนฝิ่นร่วมกับขุนส่าด้วย
หลังจากนั้นการอพยพก็มี ประปราย เพราะพม่ายังคงดำเนินนโยบายเช่นเดิมอย่างไม่หยุดยั้งทำให้ชนกลุ่มน้อยต้อง หนีเข้าสู่ประเทศไทยเป็นจำนวนมาก

เผ่าอาข่า

ชนเผ่าอาข่า (Akha)


  อาข่าเป็นชาวเขาเผ่าหนึ่งที่อาศัยอยู่ในประเทศไทยเรียกตนเองว่า อาข่า คนไทยและคนเมียนมาร์เรียกว่า อีก้อ หรือ ข่าก้อ ลาวและชนชาติอินโดจีนตอนเหนือเรียกอีก้อว่า โก๊ะ คนจีนเรียกว่า โวนี หรือ ฮานี ซึ่งหมายรวมถึงชนเผ่าที่พูดภาษาโลโลในมณฑลยูนนานทางตอนใต้ด้วย นักมานุษยวิทยาและนักภาษาศาสตร์บางท่านได้จัดอีก้ออยู่ในตระกูลภาษา จีน-ธิเบต กลุ่มภาษาย่อยธิเบต-พม่า ในจีนตอนต้นพบว่าอาข่าอาศัยอยู่กระจัดกระจายทั่วไปปะปนกับชาวจีน หมู่บ้านอาข่าบางแห่งเป็นสังคมผสมระหว่างอาข่ากับจีน ทั้งนี้เกิดจากผู้ชายจีนไปแต่งงานกับหญิงสาวอาข่า

ประวัติความเป็นมาของอาข่า
ยังไม่รู้ กระจ่างนัก อย่างไรก็ตามการค้นคว้าศึกษาของนักมานุษยวิทยาหลายท่านได้ให้ข้อเท็จจริง ว่าอาข่ามีถิ่นฐานเดิมอยู่ตามบริเวณภูเขาสูงทางทิศตะวันออกเฉียงเหนือและ ตะวันตกเฉียงใต้ของจีนมีอาข่าอยู่มากในมณฑลยูนนาน โดยเฉพาะอย่างยิ่งในแคว้นสิบสองปันนาและไกวเจา แต่เดิมอาข่ามีอาณาจักรอิสระของตนเองอยู่บริเวณต้นแม่น้ำไท้ฮั้วสุย หรือแม่น้ำดอกท้อในแคว้นธิเบต ต่อมาถูกชนชาติอื่นรุกรานจนถอยร่นลงทางใต้ เข้าสู่มณฑลยูนนานและไกวเจา เป็นเวลานานหลายพันปีมาแล้ว และเมื่อพรรคคอมมิวนิสต์จีนเข้าครองแผ่นดินใหญ่จีน อาข่าและเผ่าอื่นๆ อีกหลายเผ่าได้อพยพมาทางตอนใต้อีกแล้วกระจัดกระจายเข้าไปยังแคว้นเชียงตุง ทางภาคตะวันออกเฉียงเหนือของประเทศเมียนมาร์ในแคว้นหัวโขงภาคตะวันตกและ แคว้นพงสาลีภาคใต้ของลาว และในจังหวัดเชียงรายตอนเหนือสุดของประเทศไทยในปัจจุบันนี้ตั้งถิ่นฐานอยู่ ในประเทศต่างๆ ดังนี้

*แคว้นเชียงตุงในรัฐฉานทางภาคตะวันออกเฉียงเหนือและเมืองเล็กบางเมืองตะวันออกเฉียงใต้ประเทศเมียนมาร์
*มณฑลไกวเจา และยูนนานตอนใต้ของสาธารณรัฐประชาชนจีน
*แคว้นหัวโขงทางตะวันออกเฉียงเหนือ และแคว้นพงสาลีทางเหนือของประเทศลาว
*จังหวัดเชียงราย ลำปาง เชียงใหม่ แพร่ กำแพงเพชร ตาก ของประเทศไทย
ชาวอาข่า จัดอยู่ในตระกูลภาษาธิเบต-พม่า กลุ่มโลโล เดิมมีอาณาจักรอิสระ อยู่บริเวณต้นน้ำไทฮั่วสุยในธิเบต ต่อมาเมื่อชนชาติอื่นรุกรานจึงอพยพถอยร่นลงมาทางใต้เข้าสู่ประเทศจีน พม่า ลาว และไทย โดยเข้ามาทางอำเภอแม่สาย จังหวัดเชียงราย เมื่อประมาณ ๑๐๐ กว่าปีมานี้ และกระจายตัวตั้งบ้านเรือนอยู่ในเขตท้องที่จังหวัดเชียงราย เชียงใหม่ ลำปาง แพร่ และตาก

จำนวนประชากร ๖๘,๖๕๓ คน คิดเป็นร้อยละ ๗.๔๓ ของจำนวนประชากรชาวเขาในประเทศไทย(ปี พ.ศ. ๒๕๔๕) อาข่ามี ๓ กลุ่มย่อย คือ

* อาข่าอุโล
* อาข่าโลบิซา
* อาข่าลอปือ หรือหม่อโป๊ะ

ลักษณะทางสังคม

ระบบครอบครัวมีลักษณะเป็นครอบครัวขยายฝ่ายชายหรือลูกชายเมื่อแต่งงาน แล้วจะนำภรรยาเข้ามาอยู่ในบ้านด้วย แต่การหลับนอนกับภรรยานั้นต้องหลับนอนในบ้านหลังเล็ก ซึ่งสร้างไว้หลังบ้านหลังใหญ่ หากมีลูกชายหลายคนก็มีบ้านหลังเล็กหลายหลัง เมื่อพ่อตายลูกชายคนโตจะเป็นหัวหน้าครอบครัวต่อไป

ลักษณะการตั้งหมู่บ้าน อาข่าชอบตั้งหมู่บ้านตามภูเขาที่มีระดับความสูงโดยเฉลี่ยประมาณ ๓,๐๐๐ – ๔,๐๐๐ ฟุต จากระดับน้ำทะเล ภูเขาหรือสันเขาที่เป็นที่ตั้งของหมู่บ้านจะต้องมีพื้นที่กว้างขวาง เพียงพอสำหรับเด็กๆวิ่งเล่นและใช้เป็นที่ชุมนุมแหล่งน้ำมากนัก ปกติแหล่งน้ำจะอยู่ในหุบเขาใกล้หมู่บ้าน อีก้อไม่นิยมต่อรางน้ำเข้าหมู่บ้าน ทั้งนี้เพราเชื่อว่าผีน้ำอาจนำอันตรายต่างๆมาสู่ชาวบ้านได้

ในการเลือกตั้งหมู่บ้าน บุคคลสำคัญของหมู่บ้านประกอบด้วยหัวหน้าหมู่บ้าน หัวหน้าพิธีกรรมของหมู่บ้าน ช่างตีเหล็ก และผู้อาวุโสในหมู่บ้านจะเป็นผู้เลือกสถานที่ เมื่อตกลงใจเลือกสถานที่ได้แล้ว หัวหน้าพิธีกรรมจะทำการเสี่ยงทายขอที่จากผีเจ้าที่ โดยใช้ไข่ ๓ ฟอง จะตั้งหมู่บ้านบริเวณนั้นไม่ได้เพราะผีไม่อนุญาตต้องหาที่ตั้งหมู่บ้านใหม่

ระบบการปกครอง

สังคมอาข่าให้การยอมรับผู้อาวุโสมากในทุกกลุ่มบ้านจะมีกลุ่มผู้อาวุโส เป็นหลักในการปกครอง เป็นผู้ตัดสินปัญหาต่างๆของหมู่บ้านผู้ใหญ่บ้านซึ่งได้รับการแต่งตั้งจาก ทางราชการจะมีหน้าที่เป็นเพียงผู้ประสาน งานกับฝ่ายปกครองเท่านั้น หน่วยการปกครองของอาข่าก็คือหมู่บ้าน อาข่าไม่ชอบอยู่ภาใต้การปกครองของชนเผ่าอื่นๆ หมู่บ้านแต่ละแห่งมีหัวหน้าหมู่บ้าน เป็นผู้ปกครอง ซึ่งโดยทั่วไปจะมีหัวหน้าหมู่บ้าน ๑ คน เป็นผู้นำเรียกว่า “ หยื่อมะ” มีความรับผิดชอบทั้งด้านการปกครองและพิธีกรรมของชุมชน หัวหน้าหมู่บ้านนี้มีหน้าที่รักษากฎระเบียบ ทำการปรับไหมและตัดสินคดีร่วมกับคณะผู้อาวุโสของหมู่บ้านตำแหน่งหัวหน้า หมู่บ้านสืบเชื้อสายมาจากหัวหน้าหมู่บ้านคนก่อนๆเมื่อหัวหน้าหมู่บ้านตายลง ไป บุตรชายคนโตที่อยู่ในหมู่บ้านจะรับตำแหน่งแทน หากไม่มีบุตรชายดังกล่าวก็ให้ญาติที่ใกล้ชิดที่สุดรับตำแหน่งแทน การเป็นหัวหน้าหมู่บ้านโดยการสืบสกุลนี้ในทางปฏิบัติมิได้มีการผูกขาด หรือถือปฏิบัติเข้มงวดจนถือว่าเปลี่ยนแปลงไม่ได้ ข้อเท็จจริงมีอยู่ว่ากรณีที่หัวหน้าตายลงโดยไม่มีทายาทสืบทอดตำแหน่งบุคคล ที่ไม่ได้สืบเชื้อสายหัวหน้ามาก่อนอาจได้รับเลือกให้เป็นหัวหน้าหมู่บ้าน โดยการเสนอให้ชาวบ้านในหมู่บ้านนั้นรับรองก่อนเพื่อเป็นหัวหน้าต่อไป
นอกจากหัวหน้าหมู่บ้านแล้วก็ยังมีคณะกรรมการหมู่บ้านตามแบบประเพณีซึ่ง ประกอบด้วยช่างตีเหล็ก ผู้ช่วยหัวหน้าหมู่บ้าน(ผู้ช่วยหยื่อมะ)หมอผีและบรรดาผู้อาวุโสชาย คณะกรรมการหมู่บ้านมีบทบาทมาก ในการตัดสินคดีความ การจัดพิธีกรรมประจำปี ตลอดจนการย้ายหมู่บ้าน

ปัจจุบันการปกครองท่องถิ่นของทางราชการได้เข้าไปสู่ชุมชนอาข่า ซึ่งจะมีผู้ใหญ่บ้านและผู้ช่วยผู้ใหญ่บ้านที่ได้รับแต่งตั้งโดยทางอำเภอ อย่างไรก็ตาม การปกครองตามประเพณียังมีความสำคัญเช่นกัน

ลักษณะทางเศรษฐกิจ
อาชีพหลักของอาข่าคือการทำไร่ ปลูกข้าวไร่ ข้าวโพด เป็นพืชหลักเพื่อใช้บริโภค ปลูกถั่ว งา ข้าวฟ่าง และพืชส่งเสริมต่างๆ เป็นพืชเงินสด การเลี้ยงสัตว์เป็นอาชีพรองอีก้อเลี้ยงหมู และไก่ เพื่อประกอบพิธีกรรมและบริโภค เลี้ยงสุนัขไว้ล่าสัตว์และเฝ้าบ้านนอกจากนั้นก็เลี้ยงควาย ม้า แกะ ฯลฯ ไว้ขาย
การเกษตรถือเป็นอาชีพหลักของอาข่า ในอดีตทำการเกษตรเพื่อยังชีพเท่านั้น จะขายก็ต่อเมื่อเหลือจากการบริโภคแล้ว การเกษตรเป็นแบบไร่เลื่อนลอยเปลี่ยนที่ทำการเพาะปลูกไปเรื่อย เมื่อดินจืดก็จะหาที่เพาะปลูกใหม่ แต่ในปัจจุบันนี้อาข่าเปลี่ยนจากการทำไร่เลื่อนลอยมาเป็นการทำไร่แบบหมุน เวียนมากขึ้น ทั้งนี้เพราะพื้นที่ทำการเพาะปลูกมีน้อย ประชากรเพิ่มขึ้น แต่ที่ดินมีอยู่อย่างจำกัด ครอบครัวหนึ่งๆ อาจจะมีที่ดินในครอบครองประมาณ ๒-๓ แปลงเพ่อหมุนเวียนในการปลูกข้าวไร่ นอกจากการปลูกข้าวไร่แล้วอาชีพรองลงมาคือการเลี้ยงสัตว์ รับจ้างและหาของป่าขาย ในฤดูแล้ง อาข่านำต้นอ้อไม้กวาดมาขายให้แก่คนพื้นที่ราบ ซึ่งปีหนึ่งๆทำรายได้ให้แก่พวกเขาเป็นจำนวนไม่น้อย อาข่ามีนิสัยขยันขันแข็งในการทำงาน หนักเอาเบาสู้ สังคมเปลี่ยนแปลง ทำให้คนที่อยู่ในวัยหนุ่มสาวออกจากบ้านไปทำงานรับจ้างอยู่ในเมืองหรือรับ จ้างคนไทยทำการเกษตรกันมาก โดยทั่วไป มีฐานะพอมีพอกิน ผู้ที่ยากจนจริงๆ มักจะเป็นพวกติดยาเสพติด หรือเป็นคนพิการหรือติดเชื้อเอดส์

ระบบความเชื่อ
อาข่ามีความเชื่อและนับถือผีเหมือนชาวเขาเผ่าอื่นๆ ในรอบปีหนึ่งๆอีก้อมีพิธีกรรมที่สำคัญ ได้แก่ พิธีปีใหม่ โล้ชิงช้า พิธีเลี้ยงผีหมู่บ้าน พิธีเลี้ยงผีบ่อน้ำ พิธียะอุผิ พิธีหุ่มหมี้ พิธีส่งผี พิธีเลี้ยงผีบรรพบุรุษ ฯลฯเนื่องจากอาข่ามีความเชื่อเรื่องผี และสิ่งเร้นลับในธรรมชาติ จึงต้องคอยระมัดระวังไม่ให้เกิดการกระทบกระเทือนต่อสิ่งกังกล่าว ดังนั้นก่อนทำสิ่งใดอาข่าจุตรวจดูโชคลางเสียก่อน บางทีก็มีการเสี่ยงทาย บางทีก็ถือเอาปรากฏการณ์ต่างๆที่เกิดขึ้นตามธรรมชาติว่าเป็นการบอกลางดีลาง ร้ายอาข่านับถือผีและผีบรรพบุรุษซึ่งถือว่าเป็นผีที่ดีทีสุด ทุกครัวเรือนจะมีหิ้งผีบรรพบุรุษไว้เซ่นไหว้ปีละ ๙ ครั้ง รองลงมาได้แก่ผีใหญ่ซึ่งถือว่าเป็นหัวหน้าผีทั้งปวง และเป็นตนเดียวที่อยู่บนสวรรค์มีหน้าที่ดูแลและความทุกข์ให้แก่อาข่า

พิธีกรรมของชุมชนมีอยู่ด้วยกัน ๙ พิธีคือ

* พิธีขึ้นปีใหม่ จัดขึ้นในเดือนธันวาคมใช้เวลา ๔ วัน

* พิธีทุ่มมี้ เป็นพิธีเกี่ยวกับการเกษตร มีในราวปลายเดือนเมษายนก่อนลงมือทำไร่

* พิธีทำประตูหมู่บ้าน ทำประตูหมู่บ้านทุกๆปีเพื่อระลึกถึง “ สุมิโอ” บรรพบุรุษของอาข่า มีขึ้นราวกลางเดือนเมษายนใช้เวลา ๒ วัน

* พิธียะอุผิ เป็นพิธีบวงสรวงผีใหญ่จัดขึ้นราวๆ ปลายเดือนเมษายนใช้เวลา ๓ วัน

* พิธีเลี้ยงผีบ่อน้ำ เป็นพิธีเซ่นบวงสรวงบ่อน้ำประจำหมู่บ้านเพื่อความอุดมสมบูรณ์ของพืชไร่จัดให้มีขึ้นในเดือนเมษายนก่อนลงมือทำไร่

* พิธีโล้ชิงช้า พิธีนี้จัดขึ้นเพื่อระลึกถึงเทพธิดาผู้ประทานความอุดมสมบูรณ์ให้แก่พืชผล ที่กำลังงอกงามในไร่จัดให้มีขึ้นรางเดือนสิงหาคม-กันยายน

* พิธีกินข้าวใหม่ จัดขึ้นเพื่อฉลองรวงข้าวสุกและขอบคุณต่อผีไร่ จัดขึ้นราวเดือนตุลาคม

* พิธีส่งผีเมื่อสินฤดูฝนของทุกๆปี ราวๆปลายเดือนตุลาคม เมื่อว่างจากงานในไร่ จะทำพิธีไล่ผีออกจากหมู่บ้าน ผีเหล่านี้อาจจะมากับน้ำฝนเมื่อสิ้นฤดูฝนแล้วจะถูกขับไล่ออกไปจากหมู่บ้าน พร้อมๆกับฤดูฝนที่กำลังจะหมดไป

* พิธีเลี้ยงผีบรรพบุรุษ แม้ว่าจะมีการเลี้ยงผีบรรพบุรุษทุกครั้งที่มีการเลี้ยงผีอย่างอื่นแล้วก็ตาม แต่ยังมีพิธีกรรมเลี้ยงผีบรรพบุรุษอีกครั้งหนึ่งหลังจากปีใหม่ ซึ่งจะมีขึ้นราวๆ ต้นเดือนมกราคมของทุกปี

เผ่าม้ง

แม้ว












ประวัติความเป็นมา

ชาวเขาเผ่าแม้ว เรียกตนว่า ‘' ฮมัง ‘' หรือ ‘' ม้ง ‘' มีถิ่นกำเนิดดั้งเดิมไม่แน่ชัด มีข้อสันนิษฐานแตกต่างกันเป็นหลายทาง บ้างมีความเห็นว่าชาวแม้วเป็นเผ่าพันธุ์อิสระหรือไม่ก็เป็นเผ่าพันธุ์ผสม มีข้อสันนิษฐานหนึ่งกล่าวว่าถิ่นฐานดั้งเดิมของชาวแม้วอยู่ทางแถบเหนือของเอ เซีย อันมีลักษณะกึ่งคอเคเซียนกึ่งมองโลก เมื่ออพยพลงใต้ได้ผสมกับเผ่าพันธุ์อื่น ๆ บ้างในช่วงของการอพยพ มีตำนานที่เล่าขานกันใน หมู่ชาวแม้วในประเทศจีนว่าบรรพบุรุษของพวกเข่าเคยอยู่ในพื้นที่ที่หนาวเย็น มาก ต่อมาจึงได้อพยพเข้าสู่อาณาเขตที่เป็นประเทศจีนปัจจุบัน อย่างไรก็ตาม หลักฐานจากเกสารเก่าแก่ที่สุดของจีนที่กล่าวถึงชื่อแม้วประมาณ ๔ , ๗๐๐ ปีก่อน ระบุว่ามีชาวแม้วอยู่ในลุ่มน้ำเหลืองแล้ว แต่การใช้ชื่อแม้วในเอกสารจีนอาจมีความสับสนอยู่บ้าง เนื่องจากในบางช่วงของประวัติศาสตร์ชื่อแม้วได้ขาดหายไปจากเอกสารโดยมีคำว่า ‘' หมาน ‘' ( คนป่าเถื่อน หรืออนารยชน ) มาใช้เรียกชนชาติอื่น ๆ ไม่ใช้เชื้อสายจีน หลักฐานเหล่านี้ ยังได้กล่าวถึงการทำสงครามาระหว่างชาวแม้วกับจีนเรื่อยมาจนกระทั่งมาถึง สมัยาราวงศ์หมิง ( เหม็ง ) ที่จีนได้ใช้กองทัพขนาดใหญ่รุกเข้าสู่พื้นที่ของชาวแม้ว อันเป็นเหตุผลักดันให้พวกเขาจำต้องอพยพหนีร่นลงมาทางใต้และตะวันตกเฉียงใต้ การปะทะกันยังเกิดขึ้นเรื่อยมาจนถึงสมัยราชวงศ์แมนจู ทำให้ส่วนหนึ่งที่ยอมอยู่ในอำนาจของจีน เกิดการผสมผสานกันมากขึ้นและอีกส่วนหนึ่งที่มีการหนีร่นลงทางใต้ จนเข้าสู่ทางตอนเหนือของประเทศเวียดนาม ลาว และไทย รวมทั้งเข้าสู่บางส่วนของรัฐฉานในพม่าด้วย

การแบ่งกลุ่มย่อยและการกระจายตัว
คำว่า แม้ว หรือ เหมียว หรือ เมี่ยวในสำเนียงภาษาจีน มีผู้ลงความเห็นกันไปหลายทาง บ้างก็ว่าหมายถึงคนป่าเถื่อนบ้างก็ว่าหมายถึงคนพื้นเมือง และยังมีผู้กล่าวเป็นการเรียกเปรียบเทียบกับเสียงของแมว เพราะภาษาพูดของพวกเขาฟังเหมือนเสียงแมวร้อง อย่างไรก็ตาม มีผู้วิเคราะห์คำว่าเหมียวในภาษาจีนว่าเกิดจากการผสมกันของคำสองคำ คือคำว่าต้นพืชอ่อนที่เพิ่งเริ่มงอกในนา และมีการตีความว่าเป็นการหมายถึงคนพื้นเมือง คืออยู่มาก่อนพวกชาวจีน สำหรับคำเรียกชื่อกลุ่มของตนเองว่า ฮม้ง หรือ ม้ง ตามสำเนียงกลุ่มย่อยนั้น โดยทั่วไปพวกเขาไม่สามารถบอกาความหมายได้ แต่มีผู้ให้ความหมายว่าหมายถึง อิสระชน



ตามหลักฐานเอกสารจีนระบุ ว่านับตั้งแต่สมัยราชวงศ์ หยวน ( ค . ศ . ๑๒๗๙ – ๑๓๖๘ ) ชาวแม้วแบ่งเป็นกลุ่มย่อย คือ แม้วดอก ( ฮวาแม้ว ) แม้วขาว ( ไป่แม้ว ) และน้ำเงิน ( ชิงแม้ว ) ต่อมาในสมัยราชวงศ์ชิงตอนต้น ( ประมาณ ค . ศ . ๑๖๔๔ ) เอกสารระบุว่ามีแม้วขาว ( ไป่แม้ว ) แม้วดอก ( ฮวาแม้ว ) แม้วน้ำเงิน ( ชิงแม้ว ) แม้วดำ ( ไฮแม้ว ) และแม้วแดง ( หุงแม้ว ) อย่างไรก็ตามมีผู้นับชื่อเรียกกลุ่มแม้วต่าง ๆเป็นภาษาจีนว่ามีไม่น้อยกว่า ๕๐ ชื่อ ไปจนถึง ๘๐ – ๙๐ ชื่อ ในมณฑลไกวเจาแต่หากเป็นชื่อที่เรียกโดยภาษาแม้วเอง มีผู้ระบุว่ามีเพียง ๑๐ ชื่อเท่านั้นสำหรับกลุ่มย่อยของชาวแม้วในประเทศไทย สามารถแบ่งได้เป็น ๒ กลุ่ม คือ
๑ ) ม้งจั๊ว อาจแปลได้ว่า ม้งเขียวหรือม้งน้ำเงิน ชาวแม้วกลุ่มนี้จะเรียกตนเองว่าม้งโดยไม่มีเสียง ‘' ฮ '' นำ พวกเขามักจะถูกเรียกในภาษาไทยว่า แม้วดำ แม้วลาย หรือแม้วดอกส่วนชาวแม้วอีกกลุ่มย่อยหนึ่ง มักนิยมเรียกพวกเขาว่าฮม้งเหล่งซึ่งอาจแปลได้ว่าฮม้งลาย
๒ ) ฮม้งเด๊อ แปลว่าฮม้งขาว เป็นชื่อพวกเขาเรียกตนเองโดยมีเสียง ‘' ฮ ‘' นำ คำว่า ‘' ฮม้ง '' ชื่อเรียกเป็นภาษาไทยก็ใช้ว่าแม้วขาว เคยมีผู้เรียกกลุ่มนี้ว่าแม้วเผือก แต่ไม่เป็นที่นิยมจึงสูยหายไป ส่วนกลุ่มม้งจั๊วจะเรียกพวกเขาว่า ม้งเกล๊อซึ่งก็เป็นคำเดียวกับฮม้งเด๊อเช่นกัน แต่ออกสำเนียงต่างกันไป
อย่างไรก็ตามเคยมีผู้ กล่าวว่ามีชาวแม้วอีกกลุ่มย่อยหนึ่งเรียกว่าแม้วกั่ว ( ม ) บ๊า อยู่ทางตอนเหนือของจังหวัดน่าน เมื่อ ๓๐ กว่าปีก่อน แต่มีจำนวนไม่มากนักและกำลังถูกกลืนโดยกลุ่มแม้วน้ำเงินในพื้นที่ อันที่จริงกลุ่มดังกล่าวเรียกตนเองว่าฮม้งกั่ว ( ม ) บ๊า หรือออกเสียงในสำเนียง ม้งจั๊ว ว่า ม้งกั่ว ( ม ) บั๊ง ซึ่งอาจแปลได้ว่า ฮม้งแขนปล้อง จัดเป็นส่วนหนึ่งของฮม้งขาวนั่นเอง เมื่อมีการอพยพของชาวลาวลี้ภัยเข้าสู่ประเทศไทย นับตั้งแต่ พ . ศ . ๒๕๑๘ เป็นต้นมา ในจำนวนผู้อพยพจะมีฮม้งกั่ว ( ม ) บ๊า ร่วมอยู่ด้วย แต่ถือว่าเป็นชาวลาวอพยพที่ถูกจัดให้อยู่ตามศูนย์อพยพต่าง ๆ มิใช่ชาวเขาในประเทศไทย การจำแนกกลุ่มย่อยของชาวแม้วเหล่านี้ทำได้ง่ายโดยการสังเกตเครื่องแต่งกาย ตามประเพณี และสำเนียงภาษาที่แตกต่างกัน
จากสถิติประชากรชาวเขา ที่รวบรวมโดย สถาบันวิจัยชาวเขา ในช่วงปี พ . ศ . ๒๕๓๕ พบว่ามีชาวแม้วอยู่ในประเทศไทยรวมทั้งสิ้น ๒๓๗ หมู่บ้าน ๑๑ , ๗๗๕ หลังคาเรือนและมีประชากรรวม ๙๑ , ๕๓๗ คน หรือคิดเป็นร้อยละ ๑๕ . ๙๖ ของประชากรชาวเขาทั้งหมดในประเทศไทย ( ๕๗๓ , ๓๖๙ คน ) พวกเขาได้กระจายตัวอยู่ในพื้นที่ ๑๓ จังหวัด ดังนี้ การกระจายตัวของชาวแม้วในประเทศไทย
ตาก น่าน เชียงใหม่ เชียงราย เพชรบูรณ์ พิษณุโลก พะเยา กำแพงเพชร แม่ฮ่องสอน แพร่ ลำปาง เลยสุโขทัย

การแต่งกายตามประเพณีความแตกต่างของกลุ่มย่อยของชาวแม้วนั้น สังเกตเห็นได้ง่ายจากลักษณะการแต่งกายตามประเพณี ดังนี้
๑ ) กลุ่มม้งจั้ว ( ม้งน้ำเงินหรือม้งเขียว )
เครื่องแต่งกายชาย - นิยมใช้ผ้าสีย้อมครามหรือสีดำเป็นเครื่องนุ่งห่ม โดยมีเสื้อแขนยาวจรดข้อมือ ขลิบขอบข้อมือ เสื้อด้วยผ้าสีฟ้าหรือสีน้ำเงิน และอาจปักลวดลายลายประกอบด้วยตัวเสื้อไม่มีคอปก ชายสาบเสื้อด้านขวาจะป้ายเลยมาทับซีกซ้ายตลอดแนวสาบเสื้อจะใช้แถบผ้าสีๆ กุ๊นเดนลายและปักลวดลายประกอบดูสะดุดตา ชายเสื้อจะสั้นเพียงเอวหรือสั้นกว่านั้นเล็กน้อย กางเกงสีเดียวกับเสื้อเป็นกางเกงที่ขากว้างมากเป้าหย่อนยานแต่ปลายขาแคบลง ขอบปลายขากางเกงอาจมีการปัดลายด้วยด้ายสีต่าง ๆ ด้วย รอบเอวจะใช้ผ้าสีแดงซึ่งมีความยาวประมาณ ๔ - ๕ เมตร เคียนทับกางเกงไว้ ชายผ้าแดงทั้งสองข้างจะปัดลวดลายสวยงาม เมื่อพันผ้าแดงรอบเอว ชายผ้าทั้งสองข้างจะถูกห้อยโชว์ลวดลายไว้ด้านหน้า ชายหนุ่มจะนิยมคาดเข็มขัดเงินหรือเข็มขัดหนังทับผ้าแดงนี้อีกชั้นหนึ่ง
เครื่องแต่งกายหญิง : นิยมใช้ผ้าสีเดียวกันกับเครื่องแต่งกายชาย แขนยาวจรดข้อมือและขลิบขอบแบนด้วยผ้าสีฟ้าหรือสีน้ำเงิน ตัวเสื้อจะมีชายยาวกว่าเสื้อผู้ชาย และจะเก็บชายเสื้อไว้ด้านในกระโปรง สาบเสื้อด้านซ้ายและขวาจะปัดลวดลายหรือขลิบด้วยผ้าสีดูสวยงาม ปกเสื้อเป็นแบบคอปกกะลาสีห้อยพับไปด้านหลัง ด้านหนึ่งของคอปกเสื้อจะมีการประดิษฐ์ลวดลายสวยงามเป็นกราอวดฝีมือกัน ด้วยกระโปรงเป็นผ้าหน้าแคบ ๓ ชิ้น เย็บต่อกันและเย็บตลอดตัว แต่ขอบกระโปรงไม่เย็บต่อกัน จึงเป็นกระโปรงที่ต้องนุ่งโดยป้ายทับชายกันไว้ด้านหน้า ผ้าท่อนบนของประโปรงจะเป็นผ้าพื้นสีขาว ผ้าท่อนกลางเป็นผ้าเขียนลวดลายด้วยขี้ผึ้ง เมื่อผ่านกระบวนการย้อมแล้วจะกลายเป็นผ้าสีย้อมคราม มีลวดลายตลอดผืน ส่วนผ้าท่อนล่างจะมีสีเช่นเดียวผ้าท่อนกลาง แต่จะปักด้วยด้ายสีและกุ๊นด้วยผ้าสีเป็นลวดลายต่าง ๆตลอดตัวเช่นกัน ตรงบริเวณรอยผ่าของกระโปรงด้านหน้า จะมีผ้าผืนสี่เหลี่ยมยาวผืนหนึ่งคาดปิดทับรอยผ่าด้านหน้าไว้ ผ้าห้อยหน้าผืนนี้ในหมู่บ้านหญิงสาวจะประกวดประชันกันด้วยฝีมือการปักลวดลาย ผ้าอย่างเต็มที่สำหรับหญิงที่แต่งงานแล้วมักจะใช้ผ้าพื้นสีแดงยาว ที่ชายทั้งสองข้างปัดลวดลายสวยงามพันทับกระโปรงและจะปล่อยพู่หางสีแดงหลาย เส้นไว้ด้านหลัง หญิงสาวจะคาดเข็มขัดเงินทับผ้าคาดเอวนี้อีกชั้นหนึ่ง ผู้หญิงของกลุ่มนี้นิยมพันมวยผมขนาดใหญ่ไว้กลางศรีษะและมักจะใช้ผ้าแถบตา ๆ ดำ - ขาวคาดมวยผมแล้วประดับด้วยลูกปัดสีสวย ๆ ร้อยเป็นเส้น ๆ ในยามปกติเมื่อต้องเดินทางจากบ้านไปไร่ ผู้หญิงจะมีผ้าพันแข้งป้องกันผิวหนังถูกขีดข่วน แต่ถ้าเป็นในโอกาสพิเศษหญิง สาว จะใช้ผ้าแถบผืนเล็ก ๆ ที่มีความยาวมากพันรอบส่วนขาช่วงล่างเป็นชั้น ๆ อย่างพิถีพิถัน
๒ ) กลุ่มฮม้งเด๊อ ( ฮม้งขาว )
เครื่องแต่งกายชาย ; นิยมใช้ผ้าสีเดียวกับกลุ่มม้งจั๊วลักษณะเสื้อคล้ายกับเสื้อผู้ชายมังจั๊ว เพียงแต่ชายเสื้อจะสั้นเต่อมากกว่า กางเกงเหมือนกางเกงจีน ซึ่งต่างไปจากกลุ่มม้งจั๊วอย่างเห็นได้ชัด และมีผ้าแถบสีแดงปักลวดลายทั้งสองชายพันทับกางเกงรอบเอวแล้วคาดด้วยเข็มขัด เงินหรืออาจเป็นเข็มขัดหนังก็ได้
เครื่องแต่งกายหญิง เสื้อเป็นสีเดียวกับมังจั๊ว แต่แนวสาบเสื้อทั้งสองข้างจะนิยมขลิบด้วยผ้าสีฟ้าหรือสีน้ำเงินเรียบๆเสื้อ แขนยาวจรดข้อมือ รอบข้อมือเสื้อทั้งสองข้างขลิบด้วยผ้าสีเดียวกับสาบเสื้อ คอปกด้านหลังเป็นปกเสื้อทรงกะลาสีเช่นกัน และมีการปักลวดลายสวยงามด้านหนึ่งของปกเสื้อด้วยชายเสื้อจะสอดไว้ด้านใน ของกระโปรงสีขาวทั้งตัว ซึ่งไม่มีการปัดลวดลายใดๆ ลงบนตัวกระโปรง อันที่จริงกระโปรงของผู้หญิงฮม้งเด๊อ ก็มีลักษณะเหมือนกับของม้งจั๊วาคือเป็นผ้าหน้าแคบ ๓ ผืนเย็บต่อกัน เย็บจีบารอบตัว และเป็นผืนกระโปรงที่ไม่เย็บขอบเข้าด้วยกัน เพียงแต่กระโปรงฮม้งเด๊อจะเป็นสีขาวล้วน ๆ สำหรับหญิงสาวนั้น ผ้าห้อยหน้าที่ปิดทับรอยผ่าของกระโปรง จะมีการปัดลวดลายงามมาก ในยามปกติผู้หญิงเม้งเด๊อ นิยมสวมกางเกงจีนมากกว่ากระโปรงสีขาวซึ่งจะสกปรกได้ง่าย ผู้หญิงของกลุ่มนี้ นิยมเหล้ามวยผมคล้อยมาทางด้านหน้าของศรีษะ และมีผ้าคาดผมปักลวดลายโชว์ไว้ด้านหน้า รวมทั้งการใช้ผ้าพันแข้งด้วยเครื่องโพกผมของทั้ง ๒ กลุ่มย่อย จะมีความแตกต่างกันไปตามท้องที่และแซ่สกุล ทั้งรูปทรงสีสันและวิธีพันศรีษะทั้งหญิงและชายทั้ง ๒ กลุ่ม นิยมประดับเครื่องเงินจำพวกกำไลคอ กำไลข้อมือ แหวน ตุ้มหู และเหรียญเงินรูปกลมและรูปสามเหลี่ยม ซึ่งมักจะเย็บประดับลงบนตัวเสื้อและผ้าโพกผมรวมทั้งสองข้าง ในสมัยก่อนผู้ชายก็นิยมเครื่องโพกศรีษะด้วยส่วนกลุ่มฮม้งกั่ว ( ม ) บ๊า นั้น การแต่งกายเป็นแบบเดียวกับฮม้งเด๊อ เพียงแต่รอบแขนเสื้อผู้หญิงทั้งสองข้างจะมีแถบผ้าสีเขียวหรือสีฟ้าคาดเป็น ปล้อง ๆ จึงเรียกกันว่า ฮม้งแขนปล้อ

การตั้งบ้านเรือน
ในสมัยที่ยังมีการปลูกฝิ่นกันโดยแพร่หลาย ชาวแม้วมักจะตั้งบ้านเรือนอยู่ในระดับประมาณ ๑ , ๐๐๐ เมตร ขึ้นไปจากระดับน้ำทะเล ต่อมาเมื่อหมู่บ้านส่วนใหญ่เลิกปลูกฝิ่นโดยหันมาปลูกพืชเงินสดชนิดอื่น ๆ ความจำเป็นที่จะต้องตั้งถิ่นฐานภูเขาสูง ๆก็หมดไปอย่างไรก็ตามการเลือกทำเลที่ตั้งของหมู่บ้านและด้วยกัน จำเป็นต้องพิจารณาดูทำเลที่เหมาะสมตามหลักความเชื่อ เพราะหากเลือกทำเลผิดพลาดอาจทำให้ผู้อยู่อาศัยเจ็บป่วยลงได้ลักษณะบ้านเรือนตามระเพณี เป็นการปลูกบ้านคร่อมดินโดยการปรับพื้นดินให้ราบเรียบเป็นพื้นเรือน แล้วจึงปลูกตัวบ้านคร่อมทับลงไป โดยใช้วัสดุที่หาได้ในท้องถิ่น เช่น ฝาบ้านอาจใช้ไม้ไผ่สับฟาก หรือไม้แผ่นที่ใช้ขวานถากหลังคาอาจใช้ตับหญ้าหรือแป้นเกล็ดไม้ ซึ่งชนิดหลังจะมีความทนทานกว่ามาก สามารถอยู่ได้เป็นสิบปีโดยไม่ต้องเปลี่ยนหลังคาใหม่บ่อย ๆ เหมือนหญ้าคา ปัจจุบันมีการใช้วัสดุสมัยใหม่กันมากขึ้น รวมทั้งการสร้างบ้านในรูปทรงแบบพื้นราบ ถึงแม้ว่าการจัดภายในบ้านจะมีความแตกต่างกันระหว่างกลุ่มย่อยและต่างกันตาม แซ่สกุลก็ตาม องค์ประกอบที่สำคัญภายในบ้านยังคงมีเหมือน ๆ กัน เริ่มตั้งแต่ประตูบ้านด้านที่หันสู่ลาดเขา ส่วนที่ลาดลงซึ่งจัดว่าเป็นประตูด้านหน้าหรือประตูสำคัญ เรียกว่า ขอจ้งต่า ( หรือขอจ้งดั่ง ในสำเนียงม้งจั๊ว ) การประกอบพิธีสำคัญ ๆ เช่นการเรียกขวัญ การส่งวิญญาณผู้ตายออกจากบ้าน การแต่งงานจะต้องผ่านประตูนี้ อีกประตูหนึ่งซึ่งอยู่ด้านข้างของตัวบ้าน จัดว่าเป็นประตูธรรมดา เรียกว่า ขอจ้งสั่ว โดยทั่วไปกลุ่มม้งจั๊วมักจะไม่มีประตูด้านนี้ ถัดจากประตูสำคัญจะเป็นห้องนอนของสมาชิกในครัวเรือน ซึ่งห้องของหัวหน้าครัวเรือนมักจะเป็นห้องที่อยู่ติดประตู ลูกสาวและลูกชายที่โตแล้วจะนอนแยกห้องกัน ตาไฟมี ๒ แห่ง คือเตาไฟใหญ่เรียกว่าขอส่อ ( หรือขอสู่ในภาษาม้งจั๊ว ) ก่อด้วยดินวางกระทะใบบัวใช้เป็นเตาหงข้าว ต้มอาหารสัตว์ ทำอาหารเลี้ยงแขกในพิธี ต้มกลั่นเหล้าและต้มย้อมผ้า ส่วนเตาไฟเล็กเรียกว่าขอจุ๊ ใช้เป็นที่ทำอาหารประจำวันและต้มน้ำ หิ้งผี เรียกว่า ท่าเน้ง ( หรือทั่งเน้งในภาษาม้งจั๊ว ) อยู่ตรงข้ามกับประตูสำคัญโดยปรกติยุ้งข้าวและข้าวโพดจะอยู่ในตัวบ้านด้วย บริเวณริมด้านหนึ่งใกล้กับครกกระเดื่องสำหรับตำข้าว ในปัจจุบันครกกระเดื่องตำข้าวเริ่มหายไป เพราะมีโรงสีข้าวแทนที่ หากมีแขกมาอาศัยพักนอน กลุ่มฮม้งเด๊อ จะปูเสื่อให้ตรงบริเวณพื้นที่โล่งกลางบ้าน ในขณะที่กลุ่มม้งจั๊ว จะมีแคร่ยกพื้นไว้คอยรับแขกใกล้กับประตูสำคัญ เสากลางบ้านนับว่าเป็นส่วนประกอบที่สำคัญของบ้านด้วย เพราะถือเป็นเสาผีฟ้า เรียกว่า เย่ต๊า ( หรือยี่กลั๊งในภาษาม้งจั๊ว ) หรือเทียบได้กับเสาเอกของบ้าน บริเวณใกล้ ๆ กับหิ้งผี จะมีกระดาษแผ่นสีขาวปิดข้างฝาเรียกว่าสีก๊ะ ( หรือกั๊งในภาษาม้งจั๊ว ) เป็นผีที่คอยดูแลทุกข์สุขของคนในบ้าน ลักษณะเด่นอีกประการหนึ่งของบ้านชาวแม้วคือไม่มีบานหน้าต่าง ดังนั้นภายในบ้านจึงค่อนข้างมืด ระยะหลังมีผู้นิยมเจาะช่องหน้าต่างเพิ่มขึ้นทำให้ภายในบ้านดูสว่างขึ้น

ครอบครัวและเครือญาติ
สังคมของชาวแม้ว จัดว่าเป็นสังคมที่ตั้งอยู่บนพื้นฐานแบบแซ่สกุล คนในแซ่สกุลเดียวกันเป็นญาติพี่น้องกันแม้จะไม่สามารถสืบบรรพบุรุษาร่วมกัน ได้ก็ตาม ดังนั้น ชายและหญิงจากแซ่สกุลเดียวกัน จึงไม่สามารถแต่งงานกันได้ รวมทั้งไม่อาจมีความสัมพันธ์ทางเพศกันได้ด้วย เนื่องจากชาวแม้วสืบเชื้อสายทางฝ่ายชาย เมื่อหญิงชายแต่งงานกัน ผู้หญิงจะต้องออกจากสกุลของพ่อแม่ตนเองมาอยู่ฝ่ายผู้ชาย ภายใต้ผีฝ่ายผู้ชายด้วย โดยทั่วไปหนุ่มสาวที่แต่งงานใหม่ มักจะอยู่ร่วมในชายคาเดียวกันกับพ่อแม่ของฝ่ายชาย อันจัดเป็นรูปแบบของครอบครัวแบบขยาย ลูกชายคนโตมักจะนำครอบครัวของตนแยกเรือนออกไปก่อนเป็นครอบครัวเดี่ยว จนในที่สุด เหลือแต่ครอบครัวของลูกชายคนเล็ก ซึ่งจะต้องดูแลพ่อแม่และสืบทอดการดูแลบ้านต่อไปถึงแม้สังคมชาวแม้วจะ อนุญาตให้หนุ่มสาวสามารถมีความสัมพันธ์ทางเพศก่อนแต่งงาน แต่ก็ต้องระมัดระวังมิให้เป็นการลบหลู่ผู้ใหญ่หรือผีเรือน การแต่งงานมีได้หลายวิธี ตั้งแต่การหมั้นหมายกันตั้งแต่ยังเล็กระหว่างพ่อแม่ทั้งสองฝ่าย การส่งเถ้าแก่ไปสู่ขอโดยตรง จนถึงการาลักพาหรือพาหนีโดยฝ่ายชายเป็นผู้กระทำ จากนั้นจึงส่งผู้ใหญ่มาติดต่อแจ้งแก่ฝ่ายหญิง โดยทั่วไปการแต่งงานตามประเพณีจะเกิดขึ้นหลังจากคู่หนุ่มสาวได้อยู่กินกัน มาระยะหนึ่งแล้วอาจจะ ๑ - ๒ ปีแล้วแต่จะตกลงกัน มีคู่สามีภรรยาบางคู่ที่อยู่กินกันจนลูกอายุ ๓ - ๔ ปี แล้วยังไม่เข้าพิธีแต่งงานตามประเพณีก็มี แต่ก็รับทราบกันว่าเป็นคู่สามีภรรยาที่จะต้องทำพิธีแต่งงานในโอกาสต่อไป การแต่งงานนั้นฝ่ายชายจะเป็นผู้จ่ายค่าสินสอดทั้งหมดให้แก่พ่อแม่เจ้าสาว ซึ่งในพิธีแต่งงานจะต้องมีเถ้าแก่ของทั้งสองฝ่าย เข้านั่งเจรจาต่อรองาค่าตัวเจ้าสาวกันจนเป็นที่ตกลงกันกล่าวได้ว่าโดยทั่วไป ชาวแม้วนิยมครอบครัวแบบผัวเดียวเมียเดียว แต่ก็อนุญาตให้ชายมีภรรยาหลายคนได้ ด้วยเหตุผลสำคัญ คือ ต้องการบุตรชายไว้สืบสกุลและความต้องการแรงงานทางเศรษฐกิจเพิ่มขึ้น

ความเชื่อและพิธีกรรมที่สำคัญ
ชาวแม้วมีความเชื่อถือผีวิญญาณและการบูชาบรรพบุรุษสำหรับความเชื่อในสิ่งศักดิ์สิทธิ์นั้น อาจจัดแบ่งได้ดังนี้
๑ ) สิ่งศักดิ์สิทธิ์ระดับเทพหรือเทวดา ที่สำคัญมี เหย่อโช้วเป็นผู้สร้างสรรพสิ่งต่าง ๆ หย่งเหล่า เป็นผู้ดูแลให้มนุษย์ปฏิบัติตามกฎระเบียบ ยุ่ว้าตัวะเต่ง เปรียบเหมือนพระยม ผู้มีหน้าที่ตัดสินให้วิญญาณผู้ตายมาเกิดใหม่ ถือเซ้งถือตี่ หรือ เซ้งเต๊เซ้งเชอ เป็นผีเจ้าที่เจ้าทาง กะยิ้ง เป็นผีฟ้าผู้ให้ลูกแก่มนุษย์ที่ต้องการและร้องขอ
๒ ) เน้ง เป็นผีฝ่ายที่คอยต่อสู้กับผีร้าย นับว่ามีบทบาทมากในการบำบัดรักษาผู้ป่วย ที่เชื่อกันว่าเกิดจากการที่ขวัญออกจากร่างไป ผีเน้งจะช่วยรักษาผู่ป่วยโดยผ่านร่างทรงของหมอผีทรง หรือโดยคำเชื้อเชิญของหมอผีคาถาให้มาช่วย
๓ ) ด๊า ( หรือกลั๊งในภาษาม้งจั๊ว ) จัดเป็นผีทั่ว ๆ ไปซึ่งมีทั้งที่ให้คุณและให้โทษ ผีเรือนเรียกว่า ด๊าโหวเจ๋ ซึ่งประกอบด้วยผีประตู ผีเสาเรือน ผีก๊ะ ผีหิ้งผี ผีเตาไฟใหญ่ ผีเตาไฟเล็กและผีบรรพบุรุษ นอกจากนั้นจะเป็นผีทั่ว ๆไป เช่น ผีน้ำ ผีป่า ผีถ้ำ เป็นต้น ส่วนผีซึ่งจัดว่ามีหน้าที่คร่าชีวิตมนุษย์เรียกว่า ด๊าชื่อ ( น ) หย่ง
ชาวแม้วจึงเชื่อว่า มนุษย์ทีทั้งส่วนของร่างกายไปด้วยสาเหตุใดก็ตามจะทำให้คนผู้นั้นล้มเจ็บลง จึงจำเป็นต้องหาวิธีนำขวัญกลับมายังร่างของผู้ป่วยนั้น เพื่อจะได้หายเป็นปรกติ นอกจากนี้พวกเขายังเชื่อในการเวียนว่ายตายเกิดด้วย ดังนั้นพิธีกรรมที่สำคัญ ๆ จึงมักจะเกี่ยวข้องกับสุขภาพอนามัยของคนโดยตรง เช่น การเรียกขวัญ เรียกว่า ฮูปลี่ เป็นการเรียกให้ขวัญผู้ป่วยกลับมาเข้าร่างเดิม การเลี้ยงผีวัว เรียกว่า อัวยุ่ด๊า โดยเชื่อกันว่าพ่อหรือแม่ที่ตายไปต้องการให้ลูกหลานที่ยังอยู่ประกอบพิธีส่ง ไปให้ การทำผี เรียกว่า อัวเน้ง เป็นการบำบัดรักษาผู้ป่วย แบ่งได้เป็น ๒ ลักษณะ คือการทำผีเข้าทรง เรียกว่า อัวเน้งเท่อกับการทำผีเรียน เรียกว่าอัวเน้งเก่อ ส่วนประเภทแรกเป็นการเชิญผีมาเข้าทรงหมอผี ส่วนประเภทหลังเป็นเป็นการเชิญผีมาช่วยทำให้คาถาได้ผลยิ่งขึ้นในการรักษาผู้ ป่วย

ประเพณีสำคัญในรอบปี

ประเพณีสำคัญที่สุด คือ ประเพณีฉลองปีใหม่ ซึ่งจะมีขึ้นในช่วงขึ้น ๑ - ๓ ค่ำ ของเดือนแรกในรอบ ๑๒ เดือน ตามระบบจันทรคติ การนับระบบจันทรคติของชาวแม้ว เป็นการนับต่อเนื่องถึง ๓๐ ค่ำ จึงเรียกพิธีปีใหม่ว่า น่อเป๊โจ่ว หรือ อาจแปลว่า กินสามสิบ ซึ่งถือว่าเมื่อครบ ๓๐ ค่ำ ของเดือนสุดท้ายของปี ก็เป็นอันสิ้นสุดปีเก่าย่างเข้าสู่ปีใหม่ ดังนั้น ในช่วงขึ้น ๑ - ๓ ค่ำ ทุกคนจะไม่ไปไร่ แต่จะแต่งตัวด้วยชุดใหม่ หนุ่มสาวจะเล่นเกมโยนลูกบอลผ้าสีดำกัน ในขณะที่พวกผู้ชายจะนิยมเล่นลูกข่างกัน มีการทำขนแป้งข้าวเหนียวแจกจ่ายกันมีการเชิญเพื่อนบ้านญาติพี่น้อง มารับประทานอาหารร่วมกันโดยทั่วไปวันฉลองปีใหม่มักจะตกในราวเดือนพฤศจิกายน หรือเดือนธันวาคมของทุกปี ซึ่งมักจะเป็นเวลาที่ชาวบ้านเสร็จกิจจากการเกี่ยวข้าวกันแล้ว